พิธีทำบุญ
คนไทยมีคติประจำใจอยู่ว่า ทำบุญย่อมได้บุญ ทำบาปย่อมได้บาป ดังนี้ถือกันเป็นมั่นเหมาะทีเดียว เพราะฉะนั้นการใดที่จะเป็นทางเกิดบุญกุศล ก็นิยมทำการนั้นด้วยความเต็มใจ ความจริงการทำบุญย่อมเป็นบุญตั้งแต่เริ่ม คิดทำ เช่น ใจคอปลอดโปร่ง แจ่มใส เมื่อขณะทำจิตใจก็สะอาด คือหมด ความตระหนี่ และทำแล้วก็มีความสุขใจไม่นึกเสียดาย นี่แหละถือกันว่าเป็น ตัวบุญ ผิดกับตัวบาปพอคิดทำก็มีใจหงุดหงิด ขณะทำก็หวาดระแวงไปต่าง ๆ พอทำแล้วก็เดือดร้อนใจกลัวเขาจับได้ไล่ทัน นี่แหละคือตัวบาป เมื่อปรากฏ ผลต่างกันระหว่างบุญกับบาปดังนี้ จึงนิยมว่าบุญควรทำ บาปไม่ควรทำ ด้วยเหตุนี้ทางพระพุทธศาสนาจึงได้วางหลักเกณฑ์การทำบุญไว้ ๓ ประการ คือ ทาน ศีล ภาวนา เรียกว่าทำบุญกิริยาวัตถุ คือเรื่องการทำบุญจะ กล่าวเฉพาะทานอย่างเดียว
ทาน แปลว่าการให้ คือตัดใจให้ เสียสละให้ ในทางพระพุทธ ศาสนา กำหนดวิธีทำบุญที่เป็นทานไว้หลายอย่างเฉพาะที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ เช่น ตักบาตร ถวายสังฆทาน ถวายสลากภัตต์ ถวายข้าวสาร ถวายผ้า อาบน้ำฝน ถวายผ้าจำนำพรรษา ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ถวายเสนาสนะ ถวายศาลา ถวายน้ำมันน้ำผึ้งน้ำอ้อย ถวายธูปเทียนดอกไม้ ถวายธง ถวาย พุ่มเทียนพรรษา ถวายเครื่องดื่ม ทำบุญวันเกิด ทำบุญบ้าน ทำบุญให้ผู้ ตายเป็นต้น จะได้พูดถึงวิธีทำและมูลเหตุของแต่ละอย่าง ๆ เป็นลำดับไป