สลากภัตต์

สลากภัตต์ คือของที่ถวายพระตามสลาก นับเข้าในสังฆทานมักทำ กันในเดือนที่มีผลไม้บริบูรณ์ เช่น ทุเรียน เงาะ มะม่วง เป็นต้น วิธีทำ สลากภัตต์ที่ทำกันเป็นประเพณีอยู่โดยมาก มีทายกเป็นหัวหน้าป่าวร้องกัน ด้วยปากบ้าง ทำเป็นใบฎีกาบอกบุญเที่ยวแจกกันบ้าง แล้วกำหนด วัน เวลา และสถานที่เช่นตามวัดบ้าง ตามศาลาโรงธรรมที่ตั้งอยู่ในละแวกบ้านบ้าง เมื่อถึงวันกำหนดผู้รับสลากภัตต์ก็จัดภัตตาหารกับไทยธรรมมากบ้าง น้อยบ้าง ตามกำลัง นำไปยังที่ที่กำหนดไว้ บางรายก็ทำกันอย่างครึกครื้น แห่แหน กันอย่างสนุกสนาน ครั้นประชุมพร้อมกัน หัวหน้าทายกก็ให้ผู้รับสลากภัตต์ จับสลาก การจับสลากนั้นบางทีเขียนชื่อพระเณรในวัดนั้นทั้งหมด หรือเท่า จำนวนที่กำหนดไว้ทำเป็นธงม้วนไว้ให้ทายกจับ จับได้ชื่อพระเณรรูปใด ก็ นำไปถวายรูปนั้น บางทีเขียนเป็นเลขไปจนเท่าจำนวนพระเณร ทำเป็นธง ให้ทายกจับแล้วไปเสียบไว้ที่ของ ๆ ตน และทำสลากขึ้นอีกส่วนหนึ่งเท่ากับ จำนวนที่ทายกจับไปแล้วให้พระเณรจับ จับได้ตรงกับเลขของใครผู้นั้นก็นำ ของไปถวายแก่พระเณรที่มีเลขตรงกัน ข้อสำคัญของการถวายสลากภัตต์มี อยู่ว่า ให้ทายกตั้งใจถวายตามสลากจริง ๆ อย่าแสดงความยินดี ยินร้ายในผู้ รับ ดังที่กล่าวแล้วในสังฆทานนั้น เมื่อเสร็จพิธีจับสลากแล้วก็กล่าวคำถวาย โดยมีหัวหน้าเป็นผู้นำว่า

เอตานิ มัยฺย ภนฺเต ภุตานิ สปริวารานิ อมุถาภา ธานํ ธมฺเม ภิกขุสงฺหสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ เอตานิ สปริวารานิ ปฏิคคณฺหาตุ อมฺหากํ ทิฏฺฐธมฺ มจฺเจติญฺจ หิตาย สุขาย.

ความว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายที่ ตั้งไว้ ณ ที่โน้นนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ขอ พระสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านั้นของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อ ประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สืบกาลนานเทอญ" ให้ทำนา ปีไหนน้ำฝนดีนางก็บอกให้ทำนา และก็ทำได้ข้าวดีมากไม่เสียหาย พวกชาวเมืองรักนับถือมาก ต่างก็นำเครื่องสักการะมาให้จนร่ำรวย นางได้ เอาของเหล่านั้นถวายเป็นสลากภัตต์ขึ้นก่อนใคร ๆ จนเป็นธรรมเนียมตั้งแต่ นั้นมา นี้เรื่องสลากภัตต์