ถวายข้าวสาร

ถวายข้าวสาร การถวายข้าวสารถือเป็นธรรมเนียมประจำปี มักทำ กันในเวลาจวนเข้าพรรษา โดยจัดอาหารแห้ง เช่น พริก หอม กระเทียม ปลา ติดมาด้วย และแบ่งออกเป็นส่วน ๆ กัน ตามจำนวนพระเณรในวัด ทั้งนี้น่าจะเป็นประเพณีของผู้ที่คิดเห็นว่า การถวายอาหารที่สุกไม่เป็นของ ยั่งยืนเก็บไว้นานไม่ได้ เวลาบริบูรณ์ก็เหลือเพื่อ เวลาอัตคัดก็ไม่พอฉัน จึง คิดให้เป็นข้าวสารและของแห้ง ๆ ที่เป็นของทนอยู่ได้นาน ๆ การถวายข้าว สารไม่นิยมกาล ถวายกันในพิธีต่าง ๆ เช่น เวลามีเทศน์ก็มี ถวายเข้าไปใน สงฆ์หรือเฉพาะบุคคลก็มี ที่ทำกันจนเป็นประเพณี เช่น ตักบาตรข้าวสารใน พรรษาก็มี ประเพณีตักบาตรข้าวสารเริ่มทำกันแพร่หลายเมื่อรัชกาลที่ ๕ ครั้ง ที่พระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระราช นิพนธ์ไว้ในพระราชพิธี ๑๒ เดือน ตอนว่าด้วยตักบาตรน้ำผึ้งทรงแย้งว่า "การตักบาตรน้ำผึ้งของไทยเรามีประโยชน์สู้ตักบาตรข้าวสารไม่ได้" ดังนี้ น่าจะมีผู้เห็นชอบตามพระบรมราชาธิบายอันนี้ จึงเปลี่ยนการตักบาตรน้ำผึ้ง ซึ่งเคยทำกันเป็นประเพณีมาแต่ก่อนเป็นตักบาตรข้าวสาร วิธีตักบาตรข้าว- สารก็ป่าวร้องหรือแจกฎีกา หรือประกาศติดไว้ตามวัดที่จะทำพิธี เมื่อถึงเวลา ก็หาข้าวสารและของแห้ง ๆ มารวมกันไว้ ผู้เป็นหัวหน้าก็ประกาศให้ประชุม กันกล่าวคำถวาย โดยมีผู้นำกล่าวขึ้นต้นว่า

อิมานิ มยฺหํ ภนฺเต ตณฺฑุลานิ สปริวารานิ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมานิ ตณฺฑุลานิ สปริวารานิ ปฏิคุหาตุ อมฺหากํ ฐีรตํ หิตาย สุขาย.

มีความว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ข้าวสารกับของอื่น ๆ เหล่านี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับไว้เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ"

อนึ่ง ปรากฏหลักฐานเกี่ยวแก่เรื่องนี้เมื่อครั้งพุทธกาลว่า ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหารคราวนั้นในเมืองราชคฤห์เกิดข้าว- ยากหมากแพง ประชาชนไม่สามารถจะถวายอาหารแก่ภิกษุสงฆ์ให้ทั่วถึงกัน ได้ จึงใคร่ถวายไว้เป็นครั้งเป็นคราว พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ถวายได้ ตามปรารถนาสืบมาจนทุกวันนี้ นี้เรื่องถวายข้าวสาร