ผ้าจำนำพรรษา
ถวายผ้าจำนำพรรษา ที่เรียกว่า ผ้าจำนำพรรษานั้น หมายความว่า เป็นผ้าที่ภิกษุจะรับได้ต่อเมื่อจำพรรษาแล้ว มีกำหนดเวลาที่จะถวายและรับ ได้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษาไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑ เป็นเวลา ๒ เดือน ถ้าถวายหรือรับเกินกว่ากำหนดนี้ ไม่เรียกว่า ผ้าจำนำพรรษา วิธีนี้มีทั้งราชพิธีและพิธีของชาวบ้าน ที่เป็นราชพิธีนั้น ปรากฏว่าเริ่มมีขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เริ่มทำที่วัดอรุณ และวัดราชโอรส วิธี ทำนั้น เวลาพระสงฆ์สวดมนต์ในพระอุโบสถ รุ่งขึ้นเสด็จพระราชดำเนิน เลี้ยงพระแล้วถวายผ้าขาวเป็นส่วนของสงฆ์ ส่วนพระที่ฉันก็ถวาย สบง ร่ม รองเท้า หมากพลู ธูปเทียน และอ่างมังกร บรรจุข้าวสารผักปลา เสร็จ แล้วนิมนต์พระสวดพระบรมอัฐิ เป็นเสร็จราชพิธี ส่วนพิธีของชาว บ้านที่ทำกันอยู่ในเวลานี้ ทำเป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเป็นของเจ้าภาพคน เดียว อย่างหนึ่งเป็นการเรี่ยไร คือทายกผู้เป็นหัวหน้าแจกฎีกา หรือบ่าวร้อง ชาวบ้านให้ช่วยกันรับไปพอเท่าจำนวนพระสงฆ์ ส่วนผ้าที่จะถวายนั้นไม่จำกัด จะเป็น สบง จีวร หรือผ้าขาวอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่ศรัทธา บางทีก็ไทย- ทานอย่างอื่นๆ เป็นบริวาร เมื่อถึงกำหนดนัดแล้วผู้ถวายก็นำผ้าและไทยทาน ต่าง ๆ ไปพร้อมกันที่ในโบสถ์หรือศาลาเป็นต้น เมื่อพระสงฆ์ประชุมกัน แล้ว ถ้าเจ้าภาพคนเดียวมีไทยทานเหมือน ๆ กันก็ถวายเรียงกันเป็นลำดับกัน ที่เดียว ถ้าเป็นการบ่าวร้องต้องจับสลากผู้เป็นหัวหน้ากล่าวคำถวายให้ผู้อื่น ว่าตาม คำถวายนั้นว่า
อิมานิ มะยัง ภนเต วัสสูปนายิกจีวรานิ สังฆัสสะ โอโณชยามะ สาธุ โน ภนเต สังโฆ อิมานิ วัสสูปนายิกจีวรานิ ปฏิคคณหาตุ อัมหากัง ทีฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
ความว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้า จำนำพรรษาเหล่านี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าจำนำพรรษาเหล่านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขของข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ"