สารเคลือบปุ๋ยจากครั่ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิรัชญา ขรรค์ชัย, ศิรประภา รื่นรมย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิพัฒน์ เชื้อเมืองพาน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
1.บทนำ
ประเทศไทยมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการเกษตร อาชีพหลักของคนในประเทศก็คือเกษตกร เราจึงต้องการผลผลิตจากการทำเกษตรที่มีคุณภาพดี และได้ผลผลิตที่มากเพียงพอต่อความต้องการ จึงมีการพัฒนาสารอาหารเสริมของพืชหรือที่เรียกว่าปุ๋ยขึ้นมา เพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารที่พืชยังขาดอยู่ให้พืชได้รับอย่างเพียงพอ พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงามดีและให้ผลิตผลสูงขึ้น แต่สูตรปุ๋ยที่นำเข้ามานั้นไม่ตรงกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด อีกทั้งคุณสมบัติปุ๋ยไม่ได้เฉพาะเจาะจงสำหรับพืชแต่ละชนิด การใช้ปุ๋ยของประเทศไทยเราจึงเป็นการใช้ปุ๋ยสูตรเดิมๆในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดปัญหาสภาพดินเสื่อมโทรม และปัญหาธาตุอาหารพืชบางชนิดตกค้างภายในดินปริมาณสูง ดังนั้นจึงเกิดการคิดค้นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยละลายช้า ซึ่งปุ๋ยจะค่อยๆปล่อยธาตุอาหารพืชออกมา จะช่วยให้พืชได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอ แบบค่อยเป็นค่อยไป ลดความเสี่ยงจากภาวะที่พืชอาจได้รับปุ๋ยมากเกินไป และลดปัญหาสารเคมีตกค้างในธรรมชาติ
จากหลักการดังกล่าวคณะผู้จัดทำจึงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปุ๋ยละลายช้าที่เกษตกรสามารถเข้าถึงได้ง่าย จากการศึกษาพบว่า ครั่งยางหรือชันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารที่ขับถ่ายออกจากตัวแมลงครั่ง ยางจากครั่งขับถ่ายออกมาจากภายในตัวครั่งตลอดเวลา เพื่อห่อหุ้มตัวเป็นเกราะป้องกันอันตรายจากสิ่งภายนอกซึ่งมีลักษณะนิ่มเหนียวสีเหลืองทอง เมื่อถูกอากาศนานเข้าจะแข็งและมีสีน้ำตาล ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เรซิน ขี้ผึ้ง สี ซาก ตัวครั่ง และสารอื่น ๆ เรซินมีคุณสมบัติโดดเด่นในการป้องกันน้ำซึมผ่านซึ่งอาจจะสามารถชะลอการละลายของปุ๋ย ที่เป็นสาเหตุให้เกิดสารพิษตกค้างในธรรมชาติได้ คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงาน “สารเคลือบปุ๋ยยูเรียจากครั่ง”ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างภายในดินและช่วยให้พืชได้รับสาอาหารในปริมาณที่เหมาะสม
2.ปัญหา
การใช้ปุ๋ยสูตรเดิมๆในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดปัญหาสภาพดินเสื่อมโทรม และปัญหาธาตุอาหารพืชบางชนิดตกค้างภายในดินปริมาณสูง
3.สมมติฐาน
1.ถ้าอัตราส่วนครั่ง : antiseptic90% 4:5 เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุดแล้ว ดังนั้นปุ๋ยชนิดนี้จะใช้ระยะเวลามากที่สุดในการละลาย
2.ถ้าปุ๋ยที่เคลือบด้วยเรซินจากครั่งมีประสิทธิภาพที่ดีแล้วเวลาที่ปุ๋ยที่เคลือบด้วยเรซินจากครั่งละลายหมดจะมากกว่าเวลาละลายของปุ๋ยที่ไม่ได้เคลือบ
4.กระบวนการหรือขั้นตอนในการทำโครงงานอย่างละเอียด
ขั้นตอนการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ตอนได้แก่ ตอนที่1 ทำปุ๋ยเคลือบเรซิ่น และตอนที่ 2 ทดสอบประสิทธิภาพสารเคลือบปุ๋ยยูเรียโดยเรซิ่นจากครั่งการตรวจสอบระยะเวลาที่ใช้ในการละลาย
ตอนที่1 ทำปุ๋ยเคลือบเรซิ่น
1.นำครั่งดิบจำนวน 550 กรัม มาล้างให้สะอาดแล้วตากให้แห้ง
2.นำครั่งจากขั้นตอนที่1 มาปั่นด้วยเครื่องปั่นจนละเอียด
3.นำครั่งจากขั้นตอนที่2มาแบ่งใส่บีกเกอร์ขนาด500ml จำนวน 100,150 และ 200กรัมผสมกับแอลกอฮอลล์ปริมาตร250ml
4.ปิดด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ทิ้งไว้24ชั่วโมง
5.นำสารละลายที่ได้จากขั้นตอนที่4 แต่ละอันมาใส่ในบีกเกอร์ ขนาด 100ml ปริมาตร 40ml
6.เติมปุ๋ยยูเรีย จำนวน 80 กรัม ลงไปในบิกเกอร์ จากนั้นคนผสม
7.เทสารละลายผสม ในขั้นตอน 6 ลงในอลูมิเนียมฟอยล์ที่ฉโลมน้ำมันพืชอยู่แล้ว จากนั้นเกลี่ยให้กระจายทั่ว
8.ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วเก็บใส่ถุงซิบล็อค
ตอนที่2 ทดสอบประสิทธิภาพสารเคลือบปุ๋ยยูเรียโดยเรซิ่นจากครั่ง
1.การตรวจสอบระยะเวลาที่ใช้ในการละลาย
2.เตรียมบีกเกอร์ขนาด100mlจำนวน4ใบ โดยใส่น้ำกลั่นปริมาตร80ml ลงในบีกเกอร์ทั้ง4ใบ
3.ใส่ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยยูเรียเคลือบสารละลาย1ครั้ง,2ครั้ง และ3ครั้งตามลำดับ ลงในแต่ละบีกเกอร์
จำนวน5กรัม จับเวลา ทำซ้ำอย่างน้อย3ครั้ง สังเกตุและบันทึกผลการทดลองนำผลการทดลองที่ได้มาทำเป็นสถิติแล้วเปรียบเทียบระยะเวลาที่ในการละลาย
5.การวิเคราะห์ข้อมูลการทดลอง
ความเข้มข้นของครั่งต่อแอลกอฮอล์ใช้เวลาในการละลายมากที่สุดคืออัตราส่วน 200:250 จะสังเกตได้ว่ายิ่งใส่ครั่งในอัตราส่วนมากเท่าไหร่การละลายก็จะยิ่งช้าลงเนื่องจากเรซินที่ได้จากครั่งจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้เคลือบปุ๋ยได้หนาและคลอบคลุมมากกว่าความเข้มข้นของครั่งต่อแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 100:250, 150:250
ปุ๋ยที่ได้จากการเคลือบที่มีประสิทธิภาพในการละลายช้ามากที่สุดคือ ปุ๋ยที่เคลือบด้วย เรซินจากครั่ง 3 ครั้งเนื่องจากเรซินมีคุณสมบัติไม่ให้น้ำไหลผ่านจึงทำให้ปุ๋ยที่เคลือบด้วยเรซินถึง 3 ครั้งซึ่งมีความหนามากกว่าครั้งที่ 1 และ 2 จึงทำให้ป้องกันน้ำไม่ให้ไหลผ่านได้ดีกว่า
6.ประโยชน์และผลที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถผลิตสารเคลือบปุ๋ยยูเรียจากเรซินจากครั่ง
สามารถผลิตปุ๋ยยูเรียที่ละลายน้ำช้า
7.บรรณานุกรม
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. แมลงครั่ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https:// www.aopdb05.doae.go.th/lac.html [2 ก.ค. 2018].
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. เกษตรกรรมในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://th.wikipedia.org/wiเกษตรกรรมในประเทศไทย.[2 ก.ค. 2018].