พิธีราษฎร์
เนื่องในวันเข้าพรรษานี้ ราษฎรผู้นับถือพระพุทธศาสนา ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อย เช่นในครั้งกรุงสุโขทัย ได้ปรากฏตามที่นาง นพมาศกล่าวไว้ว่า "อันว่ามหาชนชายหญิงในตระกูลทั้งหลาย ก็ซักชวนกัน ทำกองการกุศลต่าง ๆ บรรดาผู้ได้สถาปนาพระอารามไว้ในพระศาสนา ก็ บอกกล่าวบ่าวบุญในหมู่ญาติและมิตรช่วยกันตกแต่งเสนาสนะถวายพระภิกษุ- สงฆ์ทั่วกันทุกพระอาราม และประชุมกันเป็นพวกเป็นเหล่า ตามวงศ์ญาติ และมิตรต่างตกแต่งกายประกวดกัน แห่เทียนจำนำพรรษาของตน ๆ นำ ไปทางบกบ้าง เรือบ้าง เสียงพิณพาทย์ ฆ้องกลองสนั่นไปทุกแห่งทุกตำบล เอิกเกริกด้วยประชาชนคนแห่คนดู ทั้งทางบกทางน้ำ เป็นมหานักษัตรฤกษ์ ครั้นถึงอาวาสผู้ใด ก็เลี้ยงดูกันแล้วเชิญเทียนประทีปจำนำพระพรรษาเข้าตั้ง ในพระอุโบสถวิหาร จุดตามบูชาพระรัตนตรัยสืบเดือนทุก ๆ อาราม ราษฎร์" นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงพิธีต่าง ๆ ของราษฎรชาวกรุงสุโขทัยที่ทำ กันเนื่องในวันเข้าพรรษา เช่นนำลูกหลานญาติมิตรไปประชุมกันตามวัด ถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร บางพวกก็อธิษฐานว่า จะรักษาอุโบสถศีลตลอด ๓ เดือน บางพวกก็อธิษฐานว่า จะฟังเทศน์ทุก วันมิให้ขาดตลอด ๓ เดือน นี้เป็นพิธีเนื่องในวันเข้าพรรษาของพุทธศาสนิก- ชนสมัยนี้ นอกจากนี้ยังถือเป็นกิจสำคัญที่ยังต้องบำเพ็ญกันอยู่ เช่นช่วยซ่อม แซมตกแต่งเสนาสนะ ถวายให้พระท่านอยู่เป็นสุขสบายตลอด ๓ เดือน ปวารณาตนต่อพระถวายสิ่งที่ขาดเหลือเฉพาะองค์ หรือทั้งวัดตลอด ๓ เดือน และเข้าวัดฟังธรรมรักษาศีลอุโบสถ บางพวกก็อธิษฐานใจ เว้นสิ่งที่ควรเว้น บำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญ เช่นพวกนักดื่มเหล้าบางคนเขาก็เว้นไม่ดื่มเหล้าตลอด พรรษาโดยตั้งใจเว้นเองก็มี เข้าไปปฏิญาณต่อหน้าพระก็มี บางคนที่ทำบาป หยาบช้าทารุณกรรมต่าง ๆ ก็ปฏิญาณตนไม่ทำสิ่งนั้น บางคนก็จัดให้มีเทศน์ เป็นประจำที่บ้านของตนตลอด ๓ เดือน บางคนก็จัดดอกไม้ธูปเทียนไปถวาย แก่พระที่ตนเคารพนับถือ หรือท่านที่เคยเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ของตน นี้ เป็นกุศลพิธีที่พุทธศาสนิกชนได้ทำกันเนื่องในวันเข้าพรรษาตลอดมา