สารทไทย
วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวัน สารทไทย ซึ่งเป็นนักขัตฤกษ์ที่ นิยมกันมานานแล้ว เพราะถือว่าเป็นสมัยที่จะได้ทำบุญในเมื่อ วัน เดือน คืน ล่วงมาถึงกึ่งกลางรอบปี พิธีสารทของไทยนี้เป็นของพราหมณ์มาก่อน การ ทำบุญเนื่องในพิธีสารทของพราหมณ์ก็คือ การทำบุญในฤดูที่ข้าวออกรวงเป็น น้ำนม เพื่อจะให้เป็นศิริมงคลแก่ข้าวในนา ดังที่นางนพมาศได้กล่าวไว้ว่า "เป็นฤดูที่ชนทั้งปวงกวนข้าวปายาสและทำยาคูเลี้ยงพราหมณ์" อีกอย่างหนึ่ง เขาทำเพื่อเซ่นบุรพชน คือบิดา ปู่ ทวด ที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อพิธีนี้ตกเข้ามา เป็นของไทยก็พลอยประพฤติตามพิธีของพราหมณ์ไปด้วย ผู้ที่เคยถือศาสนา พราหมณ์ เมื่อเคยทำบุญตามฤดูกาลให้แก่พราหมณ์ ครั้นกลับมาถือพระพุทธ ศาสนาแล้ว เมื่อถึงกำหนดที่ตนเคยทำบุญก็ไม่ละเลยเสีย เพราะเชื่อกันว่า พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญวิเศษยิ่งกว่าพราหมณ์ จึงได้จัด ทำถวายพระสงฆ์เหมือนที่เคยทำแก่พราหมณ์ ดังนั้น พิธีพราหมณ์จึงได้มา ระคนปนอยู่ในพระพุทธศาสนา
การที่พระพุทธศาสนาอนุโลมตามพิธีพราหมณ์นั้น บางอย่างเป็นของ ที่ควรอนุโลมกันได้ เพราะไม่เป็นการเสียหายอะไร บางอย่างพระพุทธศาสนา ก็บัญญัติตามแนวของพราหมณ์ แต่กลับกันให้ตรงกันข้ามเสีย เช่น พราหมณ์ มีเมียได้และถือว่า ถ้าไม่มีลูกสืบตระกูลต้องไปตกนรก พระพุทธเจ้าทรงเห็น ว่า เพราะเหตุที่มีเมียมีลูก ทำให้เกิดความยึดมั่นขันและก่อกวนกิเลสอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก จึงห้ามพระสงฆ์ไม่ให้มีเมีย พราหมณ์ถือลัทธิลอยบาปโดยเอา ผ้านุ่งผ้าห่มไปลอยน้ำ พระพุทธเจ้าให้พระสงฆ์เอาผ้านุ่งเหล่านั้นกลับมานุ่ง ห่ม พราหมณ์ถือว่าการโกนผมทำให้เกิดเสนียดจัญไรเป็นคนไม่ควรคบ เช่น การลงโทษแม่หม้าย พระพุทธเจ้ากลับให้พระสงฆ์โกนผม พราหมณ์ถือว่า จะรับของที่คนอื่นทำมากินไม่ได้ ต้องหุงกินเอง พระพุทธเจ้ากลับห้ามไม่ให้ หุงกินเอง ให้ขอเขากิน นี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาบัญญัติในสิ่งที่ ตรงกันข้ามกับลัทธิพราหมณ์ เฉพาะในสิ่งที่พระองค์เห็นว่า เป็นลัทธิที่เฉียด เข้าไปทางทิฐิมานะไม่มีประโยชน์อันใด นอกจากจะทำให้คนอื่นหลงถือไปใน ทางที่ผิด ๆ ในส่วนพิธีอื่น ๆ พระองค์คล้อยตามและไม่บัญญัติห้ามไว้ก็มีเป็น อันมาก พิธีเหล่านั้นที่เรายังถืออยู่ เช่น ปลายปีพิธีตรุษต้นปีพิธีสงกรานต์ และกลางปีก็คือพิธีสารท
ที่เรียกว่า สารท พจนานุกรมบอกว่า เป็นชื่อฤดูในระหว่างฤดูฝนกับ ฤดูหนาว คือฤดูใบไม้ร่วง เป็นอันตกอยู่ในปลายเดือน ๑๐ เราจึงเรียกกันว่า เป็นฤดูสารท และเป็นพิธีทำบุญกลางปีของไทย เรียกว่าทำบุญวันสารท ชนชาติภูไทยเรียกว่า ทำบุญข้าวสาต ชาวอีสานเรียกว่า ทำบุญข้าวสาก แต่เขาเริ่มทำกลางเดือน ๑๐ เพราะถือกันว่าในวันกลางเดือนสิบนี้ เป็นวันผี ญาติและมิใช่ญาติมาคอยรับอาหารที่ทำกันในคราวนี้ เมื่อผู้ใดไม่ทำบุญข้าว สาก ถือว่าผู้นั้นขาดความกตัญญูต่อบิดามารดา และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป และจะได้รับความเดือดร้อน เพราะผีที่ล่วงลับไปจะให้ภัยต่าง ๆ ของที่ทำใน พิธีสารทนี้ เรียกว่า "กระยาสารท" ซึ่งแปลว่า "อาหารที่ทำในฤดูสารท" กระยาสารทนี้เห็นจะเนื่องมาจากข้าวมธุปายาส ซึ่งเขาใช้ข้าว น้ำตาล น้ำ นมผสมกัน แต่ข้าวมธุปายาสนี้ เขาทำกันไม่กำหนดเฉพาะฤดูสารท บางที เขาทำกินกันเอง เช่นที่นางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าก็ทำถวายในเดือนหก และเศรษฐีขี้เหนียว ตามเรื่องที่ว่าหุงข้าวปายาสกินเอง ดังนั้นกระยาสารท ถึงแม้จะทำเฉพาะในพิธีสารทคือสิ้นเดือนสิบ แต่ก็น่าจะเอาแบบอย่างมาจาก มธุปายาสนั่นเอง มธุปายาสเป็นอาหารของชาวอินเดีย เมื่อมาตกเป็นของ ไทยก็ต้องมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และเมื่อมาทำกันในฤดูสารท ก็เลยเรียกกัน ว่า "กระยาสารท"
พิธีสารทนี้เป็นราชพิธีอันหนึ่ง ซึ่งทำกันมาแต่ครั้งสุโขทัย แต่ครั้ง นั้นเรียกว่าพิธี "ภัทรบท" การทำปรากฏตามที่นางนพมาศได้กล่าวไว้ว่า "ทางพุทธศาสน์พระราชพิธีนี้เป็นสมัยหมู่มหาชนกระทำมธุปายาสคูยาอังคาส พระภิกษุสงฆ์ ทั้งบูชาพระรัตนตรัยด้วยพรรณผ้ากระทำเป็นธง แล้วอุทิศ ส่วนกุศลให้แก่ญาติอันไปสู่ปรโลก" นี้เป็นพิธีราษฎรเขาทำกัน ส่วนที่เป็น พิธีหลวงนั้น นางนพมาศกล่าวไว้ว่า "ราชบุรุษชาวพนักงานตกแต่งโรงพิธี ในพระราชนิเวศน์ ตั้งก้อนเส้าเตาเพลิงและสัมภาระเครื่องใช้เบ็ดเสร็จ นาย นักการลหุโทษก็เก็บเกี่ยวครรภสาลี และรวงข้าวมาตากตำเป็นข้าวเม่า ข้าวตอก ส่งต่อมณเฑียรบาลวังเวรเครื่อง นายพระโคก็รีดน้ำนมกรส่ง คุ้มเดียวกัน ครั้นได้ฤกษ์รับสั่งให้จ่าชาวเวรเครื่องทั้งมวล ตกแต่งปรุง มธุปายาสปรุงปนระคนเจือล้วนแต่ของโอชารส มีขันทศกร น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล นมสด เป็นต้น ใส่ลงในภาชนะซึ่งตั้งบนเตาเพลิง จึงให้สาวสำอาง กวนมธุปายาสโดยสังเขป ชาวดุริยางค์ดนตรีก็ประโคมพิณพาทย์ฆ้องกลอง เล่นการมหรสพ ระเบงระบำ ล้วนแต่นารี" แล้วกล่าวต่อไปได้ความว่า พอเสร็จพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยราชบริพาร นำข้าว ปายาสไปถวายพระมหาเถรานุเถระ ทรงทำอยู่ดังนี้ตลอด ๓ วัน นี้ได้เป็น ประเพณีสืบต่อกันมา
ในบัดนี้อาหารที่ทำเนื่องในพิธีสารท นอกจากกระยาสารท ก็มีอีก อย่างหนึ่ง คือ ข้าวทิพย์ ถือกันว่าเป็นอาหารที่มีรสอร่อยปานอาหารทิพย์ สิ่งของที่ใช้สำหรับข้าวทิพย์นั้นมีพวก ถั่ว งา สาคู ข้าวโพด ข้าวพอง ข้าว เม่า มันเทศ กระจับ แห้ว ข้าวสาร ลูกบัว เมล็ดกล่ำ น้ำนมโค น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มะพร้าวแก่ มะพร้าวอ่อน ชะเอม และอื่น ๆ อีกมากมาย เอา มารวมกันแล้วกวนให้เข้ากัน การกวนข้าวทิพย์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และที่ทำกันเป็นการใหญ่โต ก็ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้มีการกวนข้าวทิพย์ในรัชกาลที่หนึ่ง และใช้ เป็นผู้กวน การกวนข้าวทิพย์เนื่องในราชพิธีนี้ ทรงทำในเดือนสิบ การทำ นั้นทำ ๓ วัน เริ่มแต่แรม ๑๓ ค่ำ เดือนสิบ เวลาบ่ายนิมนต์พระสงฆ์มาสวด มนต์ในโรงพิธี สาวพรหมจารีที่มานั่งสวดมนต์ นุ่งขาวห่มขาวนั่งในฉาก มี สายสิญจน์โยงมงคลเหมือนอย่างเจ้านายโสกันต์ ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ แล้วอาลักษณ์อ่านคำประกาศต่อหน้าพระสงฆ์ คำประกาศนั้นมีเป็นใจความ ว่า "การกวนข้าวทิพย์นี้เป็นพระราชพิธีเคยทำมาแต่โบราณ ขอประกาศแก่ พระสงฆ์ซึ่งจะสวดพระพุทธมนต์ในราชพิธีนี้ ขอให้มีจิตมั่นด้วยเมตตา และ ยึดเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง และด้วยอำนาจพระรัตนตรัย ขอให้เกิด สวัสดิมงคลและระงับโรคภัยแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานข้าวทิพย์ และต่อไปเป็น คำอธิษฐานว่า ขออำนาจพระราชกุศลที่ได้ทรงทำในเวลานี้ จงให้มี พระชนม์ยืนนาน ปราศจากพระโรค ให้ศัตรูเกรงขาม ขอให้ฝนตกเติมเพียง พองามในเวลาที่ข้าวออกเป็นรวงและผลไม้ต่าง ๆ เมื่อถึงฤดูขอให้ออกบริบูรณ์ ทั่วทุกสิ่งทุกอย่าง" เมื่อจบคำประกาศ พระสงฆ์ก็สวดมนต์ วันแรกสวด เจ็ดตำนาน วันที่สองสวด สิบสองตำนาน วันที่สามสวด ธรรมจักร และ มหาสมัย พระที่นิมนต์มาสวดในราชพิธีนั้น วันแรกคณะใต้ วันที่สองคณะ เหนือ วันที่สามคณะกลาง เมื่อสวดจบในวันที่สามซึ่งตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือนสิบ พระสงฆ์ก็ถวายอดิเรก คือถวายพระพรลากลับไป ต่อแต่นั้น พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานน้ำมหาสังข์ใบมะตูม และทรงเจิมสาวพรหมจารี ทั้งหมด เสร็จแล้วท้าวนางก็นำสาวพรหมจารีไปที่โรงพิธีซึ่งทำไว้อีกแห่งหนึ่ง สำหรับกวนข้าวทิพย์ แต่ก็อยู่ในพระบรมมหาราชวังนั้นเอง การตกแต่งโรง พิธีนั้นก็คือ ก่อเตากระทะ ๑๐ เตา เรียงตามยาวเป็นแถว ๘ เตา สำหรับ กวนข้าวทิพย์ อยู่ด้านสะกัก ๒ เตา สำหรับกวนกระยาสารท หน้าเตาทั้ง ๓ นั้นตั้งม้าวางโต๊ะทะลุ่มถุงเครื่องที่จะกวน ข้างหลังเตายกพื้นต่ำกว่าปาก กระทะหน่อยหนึ่ง สำหรับสาวพรหมจารีนั่งกวนกะทะละคู่ตามเสาแขวนทั้ง เทวรูปมีธูปเทียนดอกไม้บูชาตามทิศ ที่ต้นแถวตั้งเครื่องบูชาพานถมถ้วย แก้วอย่างเครื่องทองน้อย บูชาครูปัธยาย มีขวดน้ำส้มนมเนยตั้งอยู่ด้วย ผู้ ที่กวนข้าวทิพย์สวมมงคลทุกคน เมื่อขึ้นนั่งประจำที่แล้ว พระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ไปทรงรินน้ำในพระมหาสังข์ลงในกระทะ แล้วทรงเจิมพายที่พาดอยู่ปาก กระทะกระทะละสองพายด้วยยันต์มหาอุณาโลมทุกเล่ม แล้วทรงรินน้ำในพระ เค้าศิลาจารึกอักษร และพระเต้าภัทรบิรต่อไปทุกกระทะ โปรดให้พระเจ้าลูก- ยาเธอทรงรินน้ำส้ม และเติมเนยตามไปจนตลอดทั้ง ๔ กระทะเสร็จแล้ว พวกที่ประจำกระทะเรียกว่า ท้าวปลัดเทียมวิเศษ ก็เทถุงเครื่อง ที่จะกวนลงใน กระทะซึ่งมีกะทิและน้ำตาลเคี่ยวได้ที่แล้ว สาวพรหมจารีจับพายเริ่มกวน ประโคมแตรสังข์ม้องชัย พิณพาทย์ มโหรี พระมหาราชครูทำพิธีรดน้ำสังข์ ทุกกระทะแล้วก็เสด็จขึ้น พอเสด็จขึ้นสาวพรหมจารีก็เลิกกวน ต่อแต่นั้นให้ พวกพี่พายมากวนต่อไปจนสุก และกระยาสารทอีกสองกระทะก็กวนพร้อมกัน เมื่อเสร็จจากกวนแล้วก็พระราชทานแก่พวกพี่พายก่อน คือให้พี่พายควักไปได้ คนหนึ่งเต็มใบพายที่จะคอนไปได้ รุ่งเช้าเสด็จออกเลี้ยงพระสงฆ์ แล้วแจก จ่ายข้าวทิพย์แก่พระบรมศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายในมากน้อย ตามศักดิ์ ข้าวทิพย์ที่แจกนั้นมีเป็นห่อ ๓ ขนาด ขนาดใหญ่สำหรับพระบรม วงศานุวงศ์ ขนาดกลางสำหรับข้าราชการผู้ใหญ่ ขนาดเล็กสำหรับข้าราชการ ชั้นต่ำ ๆ ลงไป เมื่อพระราชทานแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธีเกี่ยวกับข้าวทิพย์ พิธี กวนข้าวทิพย์นี้ ได้แพร่หลายไปถึงราษฎร โดยทำกันเป็นพิธีราษฎร์ ไม่ใช่ ราชพิธี และให้หญิงสาวพรหมจารีเป็นผู้กวน พิธีของราษฎรมักทำกันที่วัด โดยมีพระสงฆ์สวดมนต์และเลี้ยงพระแล้วแจกจ่ายกันคนละเล็กละน้อย ทั้งนี้ ถือว่าเป็นเหตุให้เกิดสวัสดิมงคลและระงับโรคภัยได้ จึงเป็นประเพณีนิยมสืบ กันมา การกวนข้าวทิพย์ ไม่ค่อยจะทำกันแพร่หลายนักเพราะเรื่องมาก ส่วน กระยาสารททำกันเป็นพื้น และเป็นประเพณีอันดีของชาวไทยอย่างหนึ่ง คือ นอกจากทำไปถวายพระแล้ว ยังมีการแผ่เผื่อเจือจานกันอีก เช่นเมื่อบ้านไหน ทำกระยาสารทก็เอาไปแจกแก่อีกบ้านหนึ่ง เป็นอันต่างฝ่ายต่างแจกเพื่อแลก เปลี่ยนกัน ประเพณีแจกขนมนี้ดูเหมือนจะมีแก่ชาติอื่น ๆ ด้วย เช่น จีนเขา ก็แจกขนมโก๋กัน ฝรั่งเขาแจกเค้กกัน ไทยเรานิยมมานานแล้ว และประเพณีนี้ ทางชนบทถือกันเคร่งครัดมาก จะเห็นได้ เช่นปลายปี พิธีตรุษ เราแจก ข้าวเหนียวแดงกัน ต้นปีพิธีสงกรานต์เราแจกขนมกวนกัน มากลางปีพิธี สารท เราก็แจกกระยาสารทกัน
อนึ่ง การทำบุญเนื่องในฤดูสารทนี้ นอกจากทำกระยาสารทกันเป็น อาหารที่เราทำตามแบบอย่างทางลัทธิพราหมณ์แล้ว ยังมีการทำบุญ ซึ่งเป็น เนื้อแท้ทางพระพุทธศาสนาอีกอย่างหนึ่ง คือ การถวายของ ๕ อย่าง แก่ พระสงฆ์ ของ ๕ อย่างนั้น คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ซึ่งถวายกันในฤดูสารทนี้ ทั้งนี้มีมูลเหตุมาว่า ในครั้งพุทธกาล พวกภิกษุ เกิดอาพาธขึ้นชนิดหนึ่งเรียกว่าสารทิกาพาธ แปลว่าไข้เกิดในฤดูสารท อาการ ที่เป็นนั้นคือ ฉันจังหันแล้วอาเจียน เป็นอย่างนี้เหมือนกันมาก ๆ ทำให้ ร่างกายซูบผอมเศร้าหมอง พระพุทธองค์ทรงทราบ จึงได้ดำริหาสิ่งที่เป็น ทั้งยาด้วยเป็นทั้งอาหารด้วย เพื่ออนุญาตให้พระสงฆ์ฉัน และไม่ให้เป็น อาหารหยาบ จึงได้ทรงคิดเห็นยาทั้ง ๕ อย่าง ว่าเป็นประโยชน์ในการบำรุง ร่างกายได้เป็นอย่างดี จึงอนุญาตให้ภิกษุรับและฉันได้ตั้งแต่เที่ยงวันไปแล้ว ของเหล่านี้เป็นของที่มีในอินเดีย ครั้นตกมาถึงเมืองไทย ของทั้ง ๕ อย่าง นั้นไม่สำเร็จเป็นยาได้ทุกอย่าง คงใช้เป็นยาได้แต่น้ำผึ้ง ผู้ที่จะบำเพ็ญกุศล ให้ต้องตามพุทธานุญาต จึงพากันถวายแต่น้ำผึ้งอย่างเดียว เรียกว่าตักบาตร น้ำผึ้ง บางที่ก็มีน้ำอ้อย น้ำตาลกรวด เติมเข้าด้วย การตักบาตรน้ำผึ้งนั้น เขามักมีการบ่าวร้องหรือแจกฎีกา แล้วพร้อมกันไปทำที่วัด คือเอาบาตรมา ตั้งแล้วใส่น้ำผึ้งลงไปในบาตร เสร็จแล้วก็แบ่งถวายพระสงฆ์ในวัดนั้น พิธี ถวาย บางทีทายกเอาด้ายสายสิญจน์วงเข้ากับบาตร ให้ผู้อื่นจับสายสิญจน์ ต่อ ๆ กันไป แล้วหัวหน้าว่านำให้ผู้อื่นว่าตาม คำถวายนั้นว่าดังนี้;-
สารโท นะมาย์ ภะนุตะ กาโล สะมุปปัตโต ยะตุล ตะถาคะโต อะระห์ สะมะสัมพุทโธ สารทิกาพะเถน อาพาธิกาน์ ภิกขูน ปัญจะ เกสะชุชานิ อนุญญาสิ สปุปัง นะวะนีติ เตลิ มะธุ ผาณิตัง มะยะนะทานิ ตะกุกาละทิส์ สะมุปปุตา ตะสุสะ ภะคะวะโต ปัญญะกุตานุกิ ทาน์ ทาตุกามา เตสุ ปริยาปะนุน มะธุ จะ เตลิ จะ ผาณิติ จะ ภิกขูนัญจะสามเณรานัญจ โอโณชะยาม สาธุ โน ภะนุตะ อะยุยา ยะถาวิกะตุติ มะธุทาน์ จ้ะ เตลิ จ้ะ มาณิติ จ้ะ ปฏิคุคณหาตุ อัมหาก ที่มะระตติ หิตายะ สุขาย.
ความว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ บัดนี้ฤดูสารทมาถึงแล้ว พระพุทธองค์ทรงอนุญาตยา ๕ อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แก่ภิกษุผู้อาพาธด้วยโรคเกิดในฤดูสารทกาล บัดนี้ข้าพเจ้าทั้งหลายจะถวายทานตามพระพุทธบัญญัติ จึงถวายน้ำผึ้งเป็นยาอย่างหนึ่ง กับน้ำมัน น้ำอ้อย อันเนื่องในยา ๕ อย่างนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงรับทานของข้าพเจ้าทั้งหลายตามที่ได้แจกไปนั้น ๆ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ" แล้วพระสงฆ์รับสาธุพร้อมกัน เป็นเสร็จพิธี
ในสมัยนี้การตักบาตรน้ำผึ้งรู้สึกว่ามีผู้ทำน้อยลง จะเป็นเพราะหาน้ำผึ้งยากหรือว่าราคาแพง หรือเห็นว่ามีประโยชน์น้อยก็เป็นได้ จึงเปลี่ยนเป็นตักบาตรข้าวสาร
สรุปความว่า พิธีสารทของไทยเรานี้ทำเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทำเพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ตัวเองในเมื่อตนมีอายุล่วงมาได้กึ่งปีอย่างหนึ่ง ทำเพื่อประสานสามัคคีในระหว่างเพื่อนบ้านอย่างหนึ่ง ในข้อประสานสามัคคีนี้ เรายึดสังคหวัตถุ คือการสงเคราะห์กันด้วยการให้ เพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจกันให้แน่นหนาตลอดไป เพราะไทยเรายึดคติคือความสามัคคีเป็นหลักประกัน เพื่อความวัฒนาถาวรทั้งแก่ตนและหมู่คณะตลอดถึงประเทศชาติด้วยประการฉะนี้