พิธีหมั้น
เมื่อผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายตกลงจะให้แต่งงานกันแล้ว ก็ให้เฒ่าแก่ทั้ง สองฝ่ายพูดจาสัญญากันกำหนดทุนสินสอดและหอขันหมาก ผ้าไหว้ตาม สมควรแก่ตระกูล ครั้นตกลงยอมพร้อมกันเป็นคำสัญญาทั้งสองฝ่ายแล้ว ถึง วันฤกษ์ดีบิดามารดาญาติข้างฝ่ายชายก็ให้เฒ่าแก่นำขันหมากหมั้นไปให้แก่บิดา มารดาผู้ปกครองหญิง บิดามารดาญาติฝ่ายหญิงก็หาเฒ่าแก่มาคอยรับขันหมาก หมั้นตามสมควร ขันหมากหมั้นนั้นมีขันใส่หมากลูกกับพลูใบขันหนึ่ง กับทอง คำอันมีน้ำหนักเท่าที่ตกลงกันไว้ และมีขนมต่าง ๆ ตามแต่จะจัดไปได้ แต่บาง ทีก็ไม่มีขันหมากหมั้นต่อกัน เพราะบิดามารดาญาติทั้งสองฝ่าย รักใคร่เชื่อถือ กันอยู่แล้ว ขันหมากหมั้นนั้นเพื่อจะให้เป็นประกันให้แน่นอนตามถ้อยคำ สัญญาข้างฝ่ายชาย ถ้าฝ่ายชายไม่ได้ทำการวิวาหมงคลตามสัญญา ขันหมาก หมั้นนั้นฝ่ายชายจะขอคืนไม่ได้ต้องเสียเปล่า หญิงนั้นเรียกกันว่า หม้าย ขันหมาก เว้นแต่ว่าหญิงไปทำความชั่วขึ้นไม่ ได้ทำการมงคลแก่ชายตาม สัญญา ขันหมากหมั้นนั้นต้องคืนแก่ฝ่ายชายทั้งหมด