อาบน้ำศพ
ถ้าเป็นการตายชนิดตายโหง เช่น ผูกคอตาย ตกต้นไม้ตาย หรือ ตกน้ำตาย ฯลฯ ศพของผู้ตายเขาไม่มีการอาบน้ำ ไม่ตราสังและต้องฝังหรือ ก่ออิฐถือปูนไว้ตามวัด ถ้าวัดใดมีโรงเก็บศพ บางทีเขาก็เก็บฝากไว้ที่วัดนั้น และกลั่นใจโยนดินวางลงบนหลังโลงนั้น ๓ ก้อน เป็นพิธีสมมติแทนการฝัง ถ้าเป็นโรคตายตามปรกติเขาจึงมีการอาบน้ำศพกัน
การอาบน้ำศพนี้มีถือกันต่าง ๆ ทางพราหมณ์ถือกันว่าอาบเพื่อล้างบาป ให้แก่ผู้ตาย เพราะพราหมณ์ถือว่า น้ำในแม่น้ำอจิรวดีล้างบาปได้ เขาจึงไป ตักเอามาล้างบาปให้แก่ผู้ที่ป่วยหนัก ใกล้จะตายหรือเมื่อตายแล้ว ทางแขก ถือว่าการอาบน้ำทาแป้งให้แก่ศพอย่างหมดจดนั้น เมื่อตายไปเกิดชาติใด จะได้ มีรูปร่างสะสวยหมดจดงดงาม เพราะฉะนั้นการอาบน้ำศพเขาจึงได้ขัดสี รีดท้อง ชำระสิ่งโสโครกให้หมดจดไปทีเดียว ฝ่ายเราผู้นับถือพระพุทธศาสนา ก็มีการอาบน้ำและชำระศพให้สะอาดเหมือนกัน เช่นอาบน้ำแล้วเอาขมิ้น ชันสดขัดสีและฟอกด้วยส้มมะกรูด มะนาว เมื่อสะอาดดีแล้ว จึงหยาบ น้ำหอม ทากระแจะและเครื่องปรุงอื่น ๆ ตามแต่จะหาได้ ถ้าผู้ตายเป็น ผู้หลักผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือหรือเป็นผู้ทรงคุณธรรม ผู้ที่มาอาบน้ำศพ ก็ตั้งใจมาสนองคุณด้วยความกตัญญู และมาขอขมาโทษให้พ้นจากเวรกรรม ส่วนบุตรหลานหรือผู้นับถือผู้ตายว่าเป็นผู้ควรบูชา ก็เอาผ้าเช็ดหน้าใหม่ ๆ หรือฉีกผ้าขาวเป็น ๔ เหลี่ยม พิมพ์รูปหน้าและรอยเท้าของผู้ตายในเวลาที่ ลงขมิ้นนั้นสำหรับเป็นผ้าประเจียดต่อไป