การลดมลพิษจากการเผาด้วยการดูดซับด้วยตัวกลางเหลือทิ้งทางการเกษตร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิธิศ ธนะไพศาขมาส, กันตภณ เอกวัฒนกุล, เศรษฐ์ศิลป์ ชุษณะโยธิน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศุภณัฐ พัฒนสารินทร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควันเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้คนในภาคเหนือต้องพบเจออยู่ทุกปี โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวและหน้าร้อน เป็นมลพิษที่พบในควันจากการทำอาหารและการเผาชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตร ควันจากการเผาชีวมวลจะมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหลายร้อยชนิด สารที่พบมากได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมสู่
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นโครงงานนี้จึงมุ่งประเด็นไปที่การศึกษาหาความเป็นไปได้ที่จะนำเอาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 3 ชนิดคือ ข้อไม้ไผ่ ซังข้าวโพดและเปลือกแมคคาเดเมีย มาเป็นสารตั้งต้นในการผลิตถ่านกัมมันต์ที่ใช้ในกระบวนการดูดซับควันจากการเผาชีวมวล และศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับของถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้ง รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนตัวกลางดูดซับให้เป็นปุ๋ยโพแทสเซียมเพื่อใช้ในการเกษตรต่อไป