การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการคัดกรองผู้ป่วย และการประเมินอาการของโรคไข้หวัด, ภูมิแพ้, ไข้เลือดออก, และโรคมาลาเรีย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พาขวัญ อุทยานิก, พัฒน์นรี ธนาศิริวัจน์, อริสา หนูน้ำคำ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
หิรัญ แซ่ลิ่ม, กุสุมาพร สุราษฎร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเนื่องด้วยโรคระบาดหรือโรคตามฤดูกาล โดยเฉลี่ยผู้ป่วยนอกที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตตั้งแต่ปี 2561 - 2565 ประมาณ 72,224 คนต่อเดือน (โรงพยาบาลกรุงเทพดุสิต, 2565) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจะต้องยื่นบัตรประชาชนเพื่อลงทะเบียนตรวจและเช็คประวัติว่าเคยได้รับการรักษา ณ โรงพยาบาลนั้น ๆหรือไม่ หลังจากนั้นรอพยาบาลจะเรียกผู้ป่วยเพื่อซักประวัติและวัดสัญญาณชีพ รวมถึงการวัดน้ำหนักและส่วนสูงซึ่งเป็นข้อมูลสำหรับการวินิจฉัยอาการด่านหน้าหรืออาการที่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤตเพื่อรอพบแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ จากนั้นผู้ป่วยจะถูกเรียกเข้าห้องตรวจโดยแพทย์จะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและตรวจสอบความผิดปกติของร่างกาย หรืออาจส่งตัวผู้ป่าวไปตรวจสิ่งส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และตรวจอุจจาระเป็นต้น เมื่อพบแพทย์และได้รับคำแนะนำจากแพทย์เรียบร้อยแล้วผู้ป่วยจะต้องนําเอกสารตรวจยื่นแก่พยาบาลเพื่อรอรับใบนัด หรือรับคำต่าง ๆ (โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่, 2566)
ผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการจะแบ่งเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาในทันที และผู้ป่วยที่ไม่วิกฤต ซึ่งในส่วนนี้พยาบาลต้องเป็นผู้คัดกรอง (คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2561) เพราะฉนั้นด้วยภาระหน้าที่เพิ่มมากขึ้นจึงทําให้บุคคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ โดยระยะเวลาที่รอคอยมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอย่างมาก ระยะเวลารอคอย หมายถึง เวลาระหว่างผู้รับบริการติดต่อที่จุดแรกรับ ลงทะเบียน ถึงรับยา ไม่รวมผู้ป่วยหัตถการระยะเวลาที่รอคอยมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอย่างยิ่ง (สิรินี จานิ, 2562) จากข้อมูลสถิติของงานผู้ป่วยนอกในปี 2559 – 2561 พบว่าระยะเวลาในการรอรับบริการที่เฉลี่ยตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มลงทะเบียน จนถึงรับยาอยู่ที่ 79 นาที, 88 นาที และ 104 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่จำเป็นต้องรอเพื่อรับบริการ
ดังนั้นหากผู้ป่วยป่วยด้วยโรคธรรมดาที่ไม่ได้มีอาการร้ายแรงก็ไม่จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาซึ่งใช้ระยะเวลาในการรอคอยค่อนข้างนาน โดยสามารถรับยาและกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ เช่น โรคไข้หวัด และโรคภูมิแพ้ที่ไม่ได้มีอาการรุนแรง แต่หากผู้ป่วยป่วยด้วยโรคที่รุนแรงก็ควรที่จะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง เพื่อจะได้เข้ารับรักษาที่ตรงจุดอย่างทันท่วงที โดยโรคที่คนไทยเป็นกันจำนวนมากและบ่อยครั้งบางโรคเป็นโรคธรรมดาในขณะที่บางโรคก็เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ผู้ป่วยขาดความรู้ในการแยกความแตกต่างของลักษณะอาการของโรคได้ เช่น โรคไข้หวัด, ภูมิแพ้, ไข้เลือดออก, และโรคมาลาเรีย ดังนั้นหากเรานำข้อมูลของโรคไปใส่ให้กับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยในการประมวลผลเบื่องต้นน่าจะช่วยลดระยะเวลาในการรักษาของผู้ป่วยลงได้
ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีสามารถยกระดับชีวิตของทุกคนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ เทคโนโลยีมีศักยภาพที่จะช่วยป้องกัน บำบัด และรักษาโรคได้ โดยกำลังทำงานร่วมกับผู้นำในระบบนิเวศเพื่อปฏิวัติวงการการดูแลสุขภาพ และวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเร่งการพัฒนายา หรือปรับปรุงการเข้าถึงการดูแลสุขภาพและการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการดูแลสุขภาพ (ศุรดา ทิพย์แสง, 2563)
ปัจจุบันระบบ AI ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันจะเห็นได้จากการเดินทางซึ่งสามารถตรวจสอบเส้นทางและหลีกเลี่ยงปัญหาด้านการจราจรผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือได้ อีกทั้งยังถูกนำมาใช้ในด้านสุขภาพ โดยในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ได้มีการนำหุ่นยนต์ Ai มาช่วยในการสื่อสารกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 จากเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลไปยังคนไข้ ทั้งนี้ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence; AI) มาใช้ในวงการแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในการทางแพทย์ได้นำ AI มาใช้ในการวินิจฉัยโรคหลายโรคได้แก่ การคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม การตรวจวิเคราะห์ภาพเอกซเรย์ทรวงอก การตรวจคัดกรองโรควัณโรค เป็นต้น ซึ่งสิ่งสำคัญในการรักษาผู้ป่วย ก็คือความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจในตัวบุคคลกรทางการแพทย์ (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2562)
จากความสำคัญดังกล่าวผู้วิจัยต้องการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการคัดกรองผู้ป่วย และการประเมินอาการของโรคไข้หวัด, ภูมิแพ้, ไข้เลือดออก, และโรคมาลาเรีย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของพยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วย และช่วยลดระยะเวลาในการใช้บริการ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงจุดแผนเฉพาะทางต่อไป หากผู้ป่วยได้รับการประเมินจาก AI แล้วว่าป่วยเป็นโรคธรรมดาที่มีอาการไม่รุนแรงก็สามารถไปรับยาที่ห้องยาได้ทันที่