การพัฒนาชุดทดสอบปริมาณซิเตรตในปัสสาวะเพื่อประเมิณความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พรพิชญนันท์ วงศ์เข็มมา, ชุติปภา ไตรยราช, วิชชุอร ไชยารักษ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุกัญญา วราพุฒ, เมฆา ดีสงคราม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โรคกระดูกพรุนในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใดๆ จึงไม่สามารถตรวจพบก่อนมีการแพร่กระจายและไม่ได้รับการรักษา ผู้จัดทำโครงงานจึงทำการพัฒนาชุดทดสอบปริมาณซิเตรตในปัสสาวะเพื่อประเมินความเสี่ยงการโรคกระดูกพรุนโดยใช้ปริมาณซิเตรตซึ่งเป็นหนึ่งในสารบ่งชี้ปัสสาวะ ซึ่งจะลดลงจาก 9.5 mM เป็นต่ำสุด 2.4 mM ในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดทดสอบปริมาณซิเตรตในปัสสาวะเพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน ใช้เป็นวิธีการตรวจคัดกรองและตรวจหาโรคกระดูกพรุนด้วยวิธีใหม่ โดยใช้โครเมียมซึ่งเป็นหนึ่งในโลหะทรานซิชันซึ่งสามารถเกิดสารประกอบที่มีสีกับซิเตรตได้ ลิแกนด์ และเนื่องจากความเข้มข้นของซิเตรตต่างกัน จึงทำให้มีสีต่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับสีของสารประกอบเชิงซ้อนโครเมียม (III) และ ซิเตรต 2) เพื่อศึกษาสีของสารประกอบเชิงซ้อนโครเมียม (III) ซิเตรตและผลกระทบของการรบกวนในปัสสาวะเทียมที่มีความเข้มข้นของซิเตรตในช่วงปัสสาวะของมนุษย์ 3) เพื่อเตรียมเซ็นเซอร์ที่ใช้กระดาษวัดสีเพื่อตรวจหาซิเตรตในปัสสาวะเทียม และ 4) เพื่อพัฒนาชุดทดสอบปริมาณซิเตรตในปัสสาวะเพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน