การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับแก๊สเอทิลีนในมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ศรีสะเกษระหว่างกระดาษที่ทำจากเส้นใยธูปฤๅษีและเปลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

รุ่งอรุณ เสนาพันธ์, กนกพร เนาวบุตร, พิมพ์นารา ส่งคุณธรรม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ประภา สมสุข

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสตรีสิริเกศ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

นอกจากเปลือกทุเรียนที่มีปริมาณเส้นใยสูงแล้วแต่ก็ยังมีเปลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และธูปฤๅษีที่ให้ปริมาณเส้นใยสูงและมีโครงสร้างเส้นใยที่แข็งแรงจึงเหมาะที่จะนำมาทำกระดาษดูดซับเอทิลีนในมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ศรีสะเกษ มะละกอฮอลแลนด์เป็นมะละกอรับประทานสุกที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสูงแต่ปัญหาของมะละกอฮอลแลนด์คือขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดีและพันธุ์ราคาแพงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและคุณภาพผลผลิตต่ำ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ กรมวิชาการเกษตร จึงได้ทำการปรับปรุงพันธุ์มะละกอฮอลแลนด์สายพันธุ์แท้ที่ให้ผลผลิตสูงมากกว่าพันธุ์การค้า ออกดอกติดผลเร็ว ต้นเตี้ย ผลเป็นทรงกระบอก เนื้อมีสีส้มแดงสวยงาม และมีคุณภาพดีสม่ำเสมอ ในปี 2562 ใช้ชื่อว่า “มะละกอฮอลแลนด์พันธุ์ศรีสะเกษ”(ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ 2564 )

ต้นธูปฤๅษีเจริญขึ้นในแหล่งน้ำตื้นอย่างมากมาย และตายลงทำให้เกิดน้ำเสียในแหล่งน้ำต่างๆส่งกลิ่นเหม็นไปรอบๆสร้างความรำคาญแก่ผู้สัญจรและผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้นและยังเป็นที่อยู่ของสัตว์มีพิษ เนื่องจากธูปฤๅษีเป็นต้นที่มีลักษณะสูงเรียวยาว และมักขึ้นอย่างหนาแน่นปกคลุมเนื้อที่ได้หลายๆ ไร่ ทำให้มีลักษณะเป็นที่ที่รกรุงรังและสกปรกทำให้สัตว์มีพิษเข้าไปอาศัยอยู่ได้และทำให้ เกิดปัญหาการใช้สอยที่ดินทำกิน เนื่องจากธูปฤๅษีจะแย่งธาตุอาหารที่จำเป็นในดินไปทำให้ไม่สามารถเพาะปลูกได้ดีเท่าที่ควรและส่งผลเสียต่อการเดินทางสัญจรลำบากเพราะบริเวณที่มีธูปฤๅษีเจริญอยู่มักจะมีแหล่งน้ำขังและรกไม่สามารถสัญจรไปมาได้สะดวก (เมดไทย 2020)

เปลือกข้าวโพด นวัตกรรมการจัดการวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความจำเป็นต่อเกษตรไทยมายาวนาน ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่มีความต้องการในการใช้ในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาทั้งหมด ประมาณ 30,000 ไร่ คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกสู่ตลาดไม่น้อยกว่า 30,000 ตันจะทำให้เกิดปัญหาวัสดุเหลือทิ้งจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวนมากจนส่งผลกระทบทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเปลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหลือทิ้งมาแปรรูปในด้านต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2562)

ทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงนำเอาเปลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นกระดาษดูดซับก๊าซเอทิลีนในมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ศรีสะเกษโดยกระดาษที่ทำจากเส้นใยเปลือกข้าวโพดและธูปฤๅษีเพื่อช่วยชะลอการสุกของมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ศรีสะเกษ