ผลกระทบของฝนกรดต่ออัตราการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืช
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จันทมณี แสนใจยี่, เกศญาภรณ์ ทิพย์เนตร, สัณห์ฤทัย ขันคำนันต๊ะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
บรรณารักษ์ ตัญจพัฒน์กุล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ฝนกรดคือปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของน้ำฝนและก๊าซออกไซด์ของโลหะ บาง
ชนิดในอากาศ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ แต่การบริโภคพลังงานของมนุษย์ในปัจจุบันได้ส่งผลให้น้ำฝนมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น และสร้างความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก กลุ่มของเรามีความสนใจที่จะศึกษาผลกระทบของฝนกรดต่ออัตราการงอกของเมล็ดพืช โดยเลือกพืชทดลองเป็นเมล็ดผักคะน้า โดยใช้สารละลายกรดซัลฟิวริกและกรดไนตริกที่มี pH 4 5 6 จำลองเป็นฝนกรด และกำหนดให้น้ำ pH 7 เป็นตัวแปรควบคุม ในการทดลองจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ 1) การศึกษาอัตราการงอกและการเจริญของรากพืชโดยการเพาะเมล็ดบนจาน petri dish 2) การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของต้นกล้า โดยการเพาะเมล็ดลงกระถางเพาะ สังเกตและบันทึกผลด้านความสูง น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง 3) การศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของดินก่อนและหลังทดลอง 4) การศึกษาความหลากหลายของจุลินทรีย์ที่พบในดิน โดยคาดหวังว่าผลที่ได้จะช่วยให้ผู้คนเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงผลกระทบของฝนกรดที่มีต่อการเพาะปลูกและพื้นที่ป่า ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์สู่บรรยากาศ