การศึกษาโครงสร้างและลักษณะทางกายภาพของรังผีเสื้อม้วนใบกล้วย เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุห่อกล้วยหอมทอง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธีรนพ โสภา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วีรยุทธ ทองแดง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกัลยาณวัตร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาโครงสร้างและลักษณะทางกายภาพของรังผีเสื้อม้วนใบกล้วยเพื่อพัฒนาเป็นวัสดุห่อกล้วยหอมทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างทางกายภาพของรังผีเสื้อม้วนใบกล้วย พัฒนาวัสดุห่อกล้วยหอมทอง และศึกษาประสิทธิภาพของวัสดุห่อกล้วยหอมทอง

วิธีการดำเนินการทดลองมีดังนี้ คือ 1) ศึกษาโครงสร้างและลักษณะทางกายภาพของรังผีเสื้อม้วนใบกล้วย 2) การพัฒนาวัสดุห่อกล้วยหอมทอง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาชนิดของเส้นใยที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นวัสดุห่อกล้วยหอมทอง และ การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของน้ำมันหอมระเหยที่เหมาะสมต่อการไล่และป้องกันมด และ 3) ทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุห่อที่สร้างขึ้นเทียบกับที่เกษตรกรใช้

พบว่าในการทดลองที่ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างทางกายภาพของรังผีเสื้อม้วนใบกล้วย พบว่า รังหนอนม้วนใบกล้วยมีรูปทรงเหมือนทรงกระบอก ส่วนหนอนม้วนใบกล้วยมีลักษณะตัวเรียวยาวและแคบลงมาทางหัว ภายในรังมีฝุ่นคลายแป้ง โดยมีการม้วนใบกล้วยเข้ามาเป็นชั้น ๆ ซึ่งตัวหนอนจะใช้การชักใยออกมาประสานกับใบกล้วย ซึ่งรังมีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในและป้องกันแมลงศัตรู โดยอุณหภูมิภายในรังจะต่ำกว่าอุณหภูมิภายนอกประมาณ 2 องศาเซลเซียส 2) การพัฒนาวัสดุห่อกล้วยหอมทอง ซึ่งได้ทำการศึกษาชนิดของเส้นใยที่เหมาะสมเป็นวัสดุห่อกล้วยหอมทอง พบว่า กระดาษจากเส้นใยกาบกล้วยมีความเหมาะสมสำหรับทำเป็นวัสดุห่อกล้วยหอมทอง และวัสดุรองกระดาษที่ทาน้ำมันมะกรูดเหมาะสมในการไล่และป้องกันแมลงศัตรูได้ 3) ทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุห่อที่สร้างขึ้นเทียบกับที่เกษตรกรใช้ ซึ่งได้ทำการทดลองหาวัสดุห่อกล้วยหอมทองที่เหมาะสมต่อการใช้งาน พบว่า วัสดุห่อกล้วยหอมทองที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมในการใช้งาน