ไบโอพลาสติกย่อยสลายได้จากมีโซร์คาร์ป

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พัสพร พัดจันทร์, มธุริน ภูมิโยชน์, ลภัสรดา อ่วมอ้อ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุชญา ศรีอุดม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาต่อเนื่องของประเทศไทย ซึ่งเกิดจากการใช้พลาสติกเป็นจำนวนมากในชีวิตประจำวัน ขยะพลาสติกบางประเภทสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ บางประเภทต้องทำการกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบและการเผาทำลาย แต่การกำจัดยังมีหลุดรอดไม่สามารถจัดเก็บได้ทั้งหมดจึงทำให้ตกค้างจเกิดเป็นภัยต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการขึ้นรูปของพลาสติกที่มีเซลลูโลสจากมะพร้าวและศึกษาการย่อยสลายของถุงพลาสติกเมื่ออยู่ในแหล่งน้ำ การทำเส้นใยมะพร้าวให้เป็นนาโนไฟเบอร์ โดยการกำจัดลิกนินด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ จากนั้นไฮโดรไลซิสด้วยกรดซัลฟิวลิก แล้วนำไปไดอะไลซิส สุดท้ายนำเส้นใยมาบดเป็นผง และนำมาขึ้นรูปกับแป้งมันสำปะหลังหรือแป้งข้าวโพด โพลีไวนิลแอลกอฮอลล์ กลีเซอรอล และมะพร้าว โดยใช้อัตราส่วน 5 อัตราส่วน คือ 1:1:1:1, 1:1:1:2, 1:1:2:1, 1:2:1:1, 2:1:1:1 ที่ด้วยอุณหภูมิ 80 องศาเป็นเวลา 15 ชั่วโมง จากนั้นทดสอบแรงดึง ทดสอบการหลอมละลาย ตรวจสอบโครงสร้างและการย่อยสลาย คาดว่าอัตราส่วน 1:1:1:2 มีความยืดหยุ่นมากที่สุดและมีความแข็งแรงมากที่สุด, อัตราส่วน 2:1:1:1 จะสามารถหลอมละลายดีที่สุด, อัตราส่วน 1:2:1:1 ว่าโครงสร้างจับตัวกันดี และอัตราส่วน 2:1:1:1 สามารถย่อยสลายในน้ำได้ดีสุด