การบำบัดสารBTEXในอากาศของวัสดุดินเหนียวเผาเคลือบTiO2 ร่วมกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง(Photosynthesis)

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นิชาภา หัวนะราษฎร์, อรสา ชื่นรัมย์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เอนก ไชยบุตร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในอาคารสถานที่ต่างๆมีการปนเปื้อนสารเคมีในอากาศที่เราสูดดมซึ่งมาจากอุปกรณ์ก่อสร้างและเครื่องใช้สำนักงาน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ ทางผู้จัดทำจึงได้นำความรู้เรื่องของรูพรุนของดินเผาที่เผาในอุณหภูมิสูงกว่า 400 องศาเซลเซียส ส่งผลให้วัสดุดินเหนียวเผามีความสามารถในการดูดซับ สามารถดูดซับสารอินทรีย์ระเหยง่ายด้วยกลไกการดูดซับแต่เมื่อวัสดุดินเหนียวเผาเกิดการดูดซับสาร อินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่ปนเปื้อนในน้ำหรืออากาศที่ เป็นเวลานาน สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่ปนเปื้อนในน้ำหรืออากาศที่ จะไปอุดตันในรูพรุน แล้วทำให้เกิดการคายซับออกมาในรูปสารอินทรีย์ระเหยง่าย ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยา photocatalyst โดยใช้วัสดุดินเหนียวเผาเคลือบไททาเนียมไดออกไซด์ทดสอบกับแสงแต่ละชนิด โดยแสงที่ผู้จัดทำเลือกใช้ในการศึกษาได้แก่ แสงอาทิตย์ แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนส์ แสงจากหลอดLED และแสงจากหลอดอินแคนเดสเซนท์ ซึ่งหลอดไฟเหล่านี้นิยมใช้ทั่วไปตามบ้านเรือน อาคารสำนักงาน และปั๊มน้ำมัน ศึกษาอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ( photosynthesis ) ของพลูด่าง ที่เป็นไม้ประดับขนาดเล็ก หลังจากนั้นจึงนำผลการทดลองนำมาสร้างโมเดลการบำบัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย ( BTEX ) ในอากาศของวัสดุดินเหนียวเผาเคลือบไททาเนียมไดออกไซด์ ( TiO2 ) ร่วมกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ( Photosynthesis ) ในการบำบัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย ( BTEX ) และคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการบำบัดสารอินทรีย์จากเกิดปฏิกิริยา โฟโตคะตะไลซิส ( photocatalyst ) ทำให้ได้แก๊ซออกซิเจน ซึ่งเป็นการบำบัดอากาศได้อย่างสมบูรณ์