ตู้ฟักไข่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุรางคนางค์ เกตุยั่งยืนวงศ์, สุพิชญา พันธุ, ศุภราภรณ์ เทินสะเกตุ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เรณู เวบสูงเนิน, วราพร เขียวเเก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ชื่อโครงงาน : ตู้ฟักไข่
ผู้จัดทำ : 1.นางสาวสุพิชญา พันธุ
: 2.นางสาวศุภราภรณ์ เทินสะเกตุ
: 3.นางสาว สุรางคนางค์ เกตุยั่งยืนวงศ์
ครูที่ปรึกษา : นางเรณู เวบสูงเนิน นายยุทธศักดิ์ กิจจนศิริและ
นางวราพร เขียวแก้ว
สถานศึกษา : โรงเรียนสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
30170
โทรศัพท์ : 044-419202
ระยะเวลาในการทำโครงงาน : มิถุนายน – กรกฎาคม 2561
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ตู้ฟักไข่ ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่บางรายประสบปัญหาในกรณีที่ไก่พื้นเมือง ไก่ชน ไก่สายพันธุ์ต่างๆ ที่แม่ไก่ไข่ ออกมาแล้วไม่ยอมฟักไข่เอง หรือปัญหาการไข่ไม่พร้อมกัน แย่งกันกก ไข่ซ้อน รังกัน เป็นต้น นับว่าเป็นอีกปัญหา ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เพื่อเพาะขยายพันธุ์อย่างมาก ถ้าจะไปซื้อตู้ฟักไข่มา ใช้ราคา ก็แพง ไม่เหมาะกับเกษตรกร ผู้หาเช้ากินค่ำแบบชาวบ้านๆ ดังนั้น สมาชิก จึงเกิดแนวคิดในการประดิษฐ์ ตู้ฟักไข่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบประดิษฐ์ตู้ฟักไข่ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟักไข่ไก่ เป็นตัว มากกว่าการให้แม่ไก่ฟักเอง จากการศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบประดิษฐ์ตู้ฟักไข่ พบว่า ตู้ฟักไข่ที่ประดิษฐ์ขึ้นมามีวิธีการประดิษฐ์ที่ง่าย เป็นตู้จากกล่องโฟม สามารถใช้งานได้จริงฟักไข่ได้ประมาณ 2 แม่ไก่ (จำนวน ประมาณ 15 ฟอง) โดยมีปัจจัยต่างๆในการฟักไข่คล้ายกับการฟักไข่โดยแม่ไก่ให้มากที่สุดสามารถควบคุม อุณหภูมิ ให้คงที่อย่างสม่ำเสมอที่อุณหภูมิประมาณ 37-38 องศาเซลเซียส และให้ความร้อน และความอบอุ่น แก่ไข่ในการฟักได้ ความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ และระบบการเคลื่อนที่ของไข่ โดยการดึงกลับไปกลับ มาเหมือนกับการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย เพื่อให้ไข่สั่นสะเทือน เหมือนกับแม่ไก่ฟัก