การเพิ่มประสิทธิภาพแผ่นฟิล์มเคซีนพลาสติกด้วยเปลือกมะนาว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยะวัฒน์ ตาทิพย์, สุรัตน์ สุภาโส
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เกียรติศักดิ์ รัตนคุณศาสน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
แผ่นฟิล์มเคซีนพลาสติกเป็นแผ่นฟิล์มที่ได้จากโปรตีนในน้ำนมที่เหลือทิ้ง เพื่อประยุกต์ใช้ในการทำถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์ห่ออาหารและถุงเพาะชำ อีกทั้งยังเป็นแผ่นฟิล์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่ายเพราะวัตถุดิบเป็นสารอินทรีย์ และเมื่อเติมพลาสติไซเซอร์ที่จำเป็นได้แก่ กรีเซอรอลและอัลดิไฮด์ ทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นแต่ก็ยังไม่ใกล้เคียงกับประสิทธิภาพของแผ่นฟิล์มพลาสติกทั่วไป ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้เพิ่มประสิทธิภาพแผ่นฟิล์มเคซีนพลาสติกโดยการเติมเพกตินที่สกัดได้จากเปลือกมะนาวเหลือทิ้งตามครัวเรือนต่างๆ ซึ่งจะทำให้แผ่นฟิล์มเคซีนพลาสติกแข็งแรงขึ้นและทนต่อความชื้น โดยจะแบ่งเป็น 4 ชุดการทดลองได้แก่ ชุดที่ 1 ไม่มีการเติมสารเพกติน
ชุดที่ 2 มีการเติมเพกตินในอัตราส่วนความเข้มข้นต่อเคซีน 10% (w/w)
ชุดที่ 3 มีการเติมเพกตินในอัตราส่วนความเข้มข้นต่อเคซีน 20% (w/w)
ชุดที่ 4 มีการเติมเพกตินในอัตราส่วนความเข้มข้นต่อเคซีน 30% (w/w)
และนำแผ่นฟิล์มเคซีนพลาสติกที่ได้จากการทดลองทั้ง 4 ชุดมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ดังนี้ การต้านทานแรงดึง อัตราการซึมผ่านของไอน้ำ การละลายน้ำการย่อยสลายตามธรรมชาติ