การศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำทิ้งโดยใช้แบบจำลองระบบบึงประดิษฐ์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พิมพ์ญาดา ไกรนรา, ธัญชนก ทองจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปาณิสรา ไชยรักษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ที่ต้องใช้ในการอุปโภคบริโภค ใช้ในกิจกรรมด้านต่างๆ มนุษย์ได้รับประโยชน์มากมายจากทรัพยากรน้ำ แต่ปัจจุบันแหล่งน้ำได้เสื่อมโทรมลง

เพราะจากการปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แม่น้ำ โดยไม่ผ่านกระบวนการบำบัด ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต สุขภาพ ตลอดจนระบบนิเวศของแหล่งน้ำถูกทำลาย หรือเสื่อมสภาพจนไม่เหมาะสมที่สิ่งมีชีวิต

ต้องอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนสารพิษ โลหะหนัก คราบน้ำมัน หรือแบคทีเรียต่างๆ ที่ปะปนมากับแหล่งน้ำ อาจก่อให้เกิดโรคและอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งจากการสำรวจและรวบรวมข้อมูล ทางคณะผู้จัดทำพบว่าทางโรงเรียนมีการปล่อยน้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูลจากอาคารต่างๆโดยยังไม่ผ่านกระบวนการบำบัดน้ำทิ้ง เพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ทางคณะผู้จัดทำจึงศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการออกแบบแบบจำลองกระบวนการบำบัดน้ำทิ้งด้วยระบบบึงประดิษฐ์ โดยใช้พืชที่มีคุณสมบัติของรากที่สามารถดูดซับและกรองแร่ธาตุ ของเสียต่างๆในน้ำได้ โดยพืชที่นำมาใช้ในการศึกษา ได้แก่ ต้นธูปฤาษี ต้นกก และต้นพุทธรักษา และมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำทั้งก่อนและหลังการบำบัด โดยใช้พารามิเตอร์ที่นำมาวิเคราะห์ค่าคุณภาพของน้ำทั้งหมด 13 พารามิเตอร์ ดังนี้ สี (Color) กลิ่น (Odor) อุณหภูมิ (Temperature) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) การนำไฟฟ้า (Conductivity) ความขุ่น (Turbidity) ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids, SS) ของแข็งละลายน้ำ (Total Dissolved Solids, TDS) ดีโอ (Dissolved Oxygen, DO) บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand, BOD) ไนเตรท แอมโมเนีย และแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria) เพื่อนำมาศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำทิ้งของแบบจำลองระบบบึงประดิษฐ์นี้ ทำให้การบำบัดน้ำมีคุณภาพที่ดีขึ้นได้ เพื่อให้น้ำมีคุณภาพได้มาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ