การประยุกต์ใช้แรงดันไฟฟ้า 200 โวลต์ เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเหี่ยวเขียวในต้นมะเขือเทศสีดา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นรวิชญ์ อังคทะวิวัฒน์, ยศพัทธ์ ชนาพรพจน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นิติ ไชยวงคต

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันมีการใช้สนามไฟฟ้า (Electrical Field) เพื่อควบคุมหรือลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยอาศัยหลักการของสนามไฟฟ้า คือบริเวณรอบ ๆ ประจุไฟฟ้าที่ประจุไฟฟ้าสามารถส่งอำนาจไปถึง จุดที่อยู่ใกล้ประจุไฟฟ้าจะมีความเข้มของสนามไฟฟ้าสูงกว่าจุดที่อยู่ห่างไกลออกไป เมื่อใส่แรงเคลื่อนไฟฟ้าเข้าไประหว่างลวด ตัวนำทั้งสอง โดยที่ปลายของขดลวดตัวนำทั้งสองถูกเปิดวงจรเอาไว้จะเกิดพลังงานที่สะสมอยู่ในรูปของไฟฟ้าสถิตและสนามไฟฟ้า โดยมีทิศทางของเส้นแรงไฟฟ้าจากบวกไปลบ (บุญศักดิ์ ใจจงกิจม, 2522) ซึ่งจากงานวิจัยของ Charles และคณะ (2006) พบว่าการเพิ่มขึ้นของสนามไฟฟ้า ทำให้อัตราการมีชีวิตของแบคทีเรียลดลงโดยระดับสนามไฟฟ้าจะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียได้รับความเสียหายและเกิดรอยรั่ว เราจึงทำโครงงานนี้เพื่อศึกษาหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้แรงดันไฟฟ้า 200 โวลต์ แก่ต้นมะเขือเทศสีดา เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเหี่ยวเขียว และเพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงภายนอกของต้นมะเขือเทศสีดาหลังได้รับ แรงดันไฟฟ้า200 โวลต์ ทำการทดลองโดยทำการแบ่งแยกต้นมะเขือเทศสีดาที่มีเชื้อ Ralstania Solanacearum ออกเป็น 4 ชุด จากนั้นนำต้นมะเขือเทศสีดาที่มีเชื้อ Ralstonia Solanacearum มาให้แรงดันไฟฟ้าที่ 200 โวลต์ ในระยะเวลาที่ต่างกัน และระยะห่างระหว่างขั้วที่ต่างกัน สิ่งที่ได้ประโยชน์คือ นำไปใช้ในการเกษตร และคัดเลือกต้นมะเขือเทศสีดาได้อย่างดี