เซลลูโลสจากวัชพืชเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุทธิดา หิ้นตระกูล, มังคเลส หมานจันทร์, ณัฐภัทร สุวรรณพงศ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จินดา คงเจริญ, ลออ คงเจริญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลลูโลสจากวัชพืชเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม โครงงานนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อกำจัดวัชพืชซึ่งมีมากในถ้องถิ่น และไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทางกลุ่มของข้าพเจ้า จึงนำวัชพืช เช่น หญ้าแฝก หญ้าคมบาง และหญ้าคา ซึ่งเป็นวัชพืชที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยการทดลอง 6 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาการสกัดเซลลูโลสจากวัชพืช โดยการสกัดร้อน สกัดเย็น และใช้เอทานอลกับน้ำเป็นตัวทำละลาย พบว่าหญ้าคาที่สกัดเย็นด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายมีปริมาณของเซลลูโลสมากที่สุด การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของการสกัดเซลลูโลสจากหญ้าคาโดยนำหญ้าคามาสกัดที่อัตราส่วนต่าง ๆ พบว่าการสกัดที่อัตราส่วน 1:2 มีปริมาณเซลลูโลสจากหญ้าคามากที่สุด การทดลองที่ 3 ศึกษาการเก็บรักษาเซลลูโลสจากหญ้าคาโดยการอบแห้ง พบว่าอุณหภูมิที่ 100 องศาเซลเซียส สามารถเก็บเซลลูโลสจากหญ้าคาได้ดีที่สุด การเจือจางน้ำยางพาราอัตราส่วน 1:0.25 ได้ถุงเพาะชำจากเซลลูโลสรูปทรงกระบอกมีปริมาตร 715 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีค่ามอดูลัส 2,741.22 N/m2 ที่อัตราส่วน 1:0.5 ได้กระถางต้นไม้จากเซลลูโลสรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู Size S ปริมาตร 0.7 ลูกบาศก์เซนติเมตร Size M ปริมาตร 1.1 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีค่ามอดูลัส 1,290.55 N/m2 ที่อัตราส่วน 1:1 ได้กระถางต้นไม้จากเซลลูโลสรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู Size L ปริมาตร 5.4 ลูกบาศก์เซนติเมตร Size XL ปริมาตร 10.2 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีค่ามอดูลัส 3,079.51 N/m2 และเมื่อนำน้ำยางพาราที่มีการเจือจางแล้วผสมกับเซลลูโลสจากหญ้าคาที่อัตราส่วน 1:1 มีค่ามอดูลัส 2,483.43 N/m2 สามารถขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ทุกรูปแบบ การทดลองที่ 5 ศึกษาการย่อยสลายผลิตภัณฑ์ของเซลลูโลสจากหญ้าคา โดยนำกระถางต้นไม้จากเซลลูโลสและถุงเพาะชำจากเซลลูโลส มาปลูกพืชด้วยดินร่วนชื้น มีค่า pH ของดินเป็น 6 ที่ระยะเวลา 4 เดือน ถุงเพาะชำจากเซลลูโลสมีการย่อยสลายร้อยละ 80.55 กระถางต้นไม้จากเซลลูโลสมีการย่อยสลายร้อยละ 63.88 มีค่า pH เป็น 6 การทดลอง ดินร่วนที่มีน้ำขัง มีค่า pH ของดินเป็น 6 ที่ระยะเวลา 3 เดือน ถุงเพาะชำจากเซลลูโลสมีการย่อยสลายร้อยละ 83.33 กระถางต้นไม้จากเซลลูโลสมีการย่อยสลายร้อยละ 66.66 มีค่า pH เป็น 6 ดังนั้นการย่อยสลายของผลิตภัณฑ์ไม่มีผลต่อสภาพของดินที่ใช้ในการเพาะปลูกและไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม