สารสกัดจากพืชเร่งรากข้าวหอมกระดังงา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิซาฟีรา นิเล๊าะ, พรรณพษา ศรีหมั่น, ซูซานา มะดีเยาะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ลออ คงเจริญ, จินดา คงเจริญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่อง สารสกัดจากพืชเร่งรากข้าวหอมกระดังงาจัดทำขึ้นเพื่อจะเร่งรากข้าวให้ข้าว มีการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้นกว่าปกติ โดยใช้สารสกัดเร่งรากจากพืช ได้แก่ ใบมะขาม ใบบัวบก ผักตบชวา ซึ่งเป็นพืชที่มีสารออกซิน (Auxins) ซึ่งสารออกซิน (Auxins) จะมีบทบาทในการควบคุมการเจริญเติบโตของรากพืชได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสกัดสารจากใบมะขาม ใบบัวบก ผักตบชวา เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการงอกของเมล็ดข้าวหอมกระดังงา เมื่อแช่เมล็ดข้าวใน สารสกัดจากใบมะขาม ใบบัวบก ผักตบชวา น้ำและสารเร่งราก เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสารสกัดจากผักตบชวา และ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการงอกของเมล็ดข้าวหอมกระดังงา เมื่อแช่เมล็ดข้าวในสารสกัดจาก ใบมะขาม ใบบัวบก และผักตบชวา ในระยะเวลาที่ต่างกัน พบว่า สารที่สกัดออกมาจากใบมะขาม ใบบัวบก ผักตบชวา มีสีเป็นสีเขียว มีค่า pH 5-6 ค่อนไปทางกรด เมล็ดข้าวหอมกระดังงาที่แช่ด้วยสารสกัดจากผักตบชวาที่สกัดแบบร้อน มีจำนวนราก ความยาวรากเฉลี่ย มากกว่าเมล็ดข้าวหอมกระดังงาที่แช่ใน ใบมะขาม ใบบัวบก สารเร่งรากและน้ำ ตามลำดับ และเมล็ดข้าวหอมกระดังงาที่แช่ด้วยสารสกัดจากผักตบชวาที่สกัดร้อน อัตราส่วน 2:1 มีจำนวนราก ความยาวรากเฉลี่ย มากกว่าเมล็ดข้าวหอมกระดังงาที่แช่ด้วยสารสกัดจากผักตบชวาแบบต้มอัตราส่วน 1:1 และ 1:2 รวมทั้งน้ำและสารเร่งรากด้วย สารสกัดที่ช่วยกระตุ้นการงอกของรากข้าวหอมกระดังงาที่ดีที่สุดในวันที่ 3 และวันที่ 5 คือ ผักตบชวาสกัดร้อน มีความยาวรากเฉลี่ย คือ 1.40 เซนติเมตร และ0.72 เซนติเมตร ตามลำดับ ศึกษาส่วนต่างๆของผักตบชวาที่มีผลต่การเร่งรากข้าวหอมกระดังงา