การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเคลือบผิวจากสารสกัดเพคตินในเปลือกขนุนเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลกล้วยหอมทอง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชลธิชา ชัยชัชเวชช์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทัศนียา มาตุการักษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การหายใจของผลไม้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผลไม้เกิดกระบวนการสุก ซึ่งเมื่อผลไม้เข้าสู่กระบวนการสุกแล้วก็จะทำให้ผลไม้มีระยะเวลาในการเก็บรักษาที่ลดลงส่งผลต่อคุณภาพของผลไม้ที่ผู้บริโภคจะได้รับ การใช้สารเคลือบผิวผลไม้ก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่สามารถที่จะลดอัตราการหายใจของผลไม้ให้น้อยลงได้ จากแนวคิดข้างต้นจึงทำให้ผู้จัดทำมีความสนใจที่จะศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเคลือบผิวจากสารละลายเพคติน สารเคลือบผิวจากสารละลายไฮโดรเจลเพคติน และสารเคลือบผิวจากสารละลายไฮโดรเจลเพคตินผสมกับคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส เพื่อให้ได้สารเคลือบผิวที่มีประสิทธิภาพและสามารถยืดระยะเวลาการเก็บรักษาผลไม้เปลือกบางชนิดอื่นได้นานที่สุด โดยผลไม้ที่นำมาใช้ในการทดสอบ คือ กล้วยหอมทอง เพราะว่าเป็นหนึ่งในผลไม้ส่งออกของไทยที่มีอายุการเก็บรักษาที่ค่อนข้างสั้น โดยจะใช้เพคตินที่สามารถสกัดได้จากเปลือกขนุนมาเตรียมเป็นสารเคลือบ และสารเพิ่มความหนืดที่ใช้ คือ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส แซนแทนกัม และซอร์บิทอล ส่วนสารเชื่อมขวางที่นำมาใช้ในการเตรียมไฮโดรเจลก็คือ แคลเซียมคลอไรด์ แล้วทำการศึกษาประสิทธิภาพของสารเคลือบผิวโดยการชั่งน้ำหนักเพื่อน้ำมาคำนวณหาอัตราการสูญเสียน้ำหนักของผลไม้ วัดค่าสี วัดความแน่นเนื้อ จากนั้นนำสารเคลือบผิวแต่ละแบบมาเปรียบเทียบกันเพื่อหาสารเคลือบผิวที่มีประสิทธิภาพในการยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้มากที่สุด