การศึกษาประเภทของหลอดไฟและการกระจายตัวของแมลงก้นกระดก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พรพิมล ช่วยเพ็ญ, กณิกนันท์ นิลทับ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เหมรัสฐ์ อินสุข

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาประเภทของหลอดไฟและการกระจายตัวของแมลงก้นกระดกนี้เป็นการศึกษาเพื่อนำไปใช้ประยุกต์ในเรื่องหลอดไฟที่ส่งผลต่อการกระจายตัวของแมลงก้นกระดก จากการศึกษาพบว่า หลอดไฟประเภทหลอดไส้ ส่งผลให้แมลงมีการกระจายตัวต่ำที่สุด จึงได้นำมาศึกษาจำนวนความถี่การกระจายตัวของแมลงก้นกระดกที่มีต่อช่วงเวลาแต่ละช่วงในเวลากลางคืน โดยแบ่งการศึกษาเป็น3ช่วง 19:00-22:00, 22:00-01:00, 01:00-04:00 โดยได้ออกแบบชุดทดลองสำหรับการทดลองซึ่งประกอบด้วยหลอดไส้, ถังอลูมิเนียมสำหรับใส่น้ำ และโครงอลูมิเนียมที่ใช้ในการติดตั้งหลอดไส้ โดยศึกษาภายใต้สภาพอากาศที่มีความใกล้เคียงกัน

จากการศึกษาพบว่า จำนวนแมลงก้นกระดกมีการกระจายตัวสูงที่สุดในช่วงเวลา 19:00-22:00 โดยได้ค่าเฉลี่ยของแมลงก้นกระดกอยู่ที่ 5.75 ตัวในช่วงนี้ซึ่งเป็นจำนวนแมลงก้นกระดกที่สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาในช่วง 22:00-01:00 ที่มีค่าเฉลี่ยจำนวนแมลงก้นกระดกที่ 4.5 ตัว และเวลา01:00-04:00น. ได้ค่าเฉลี่ย 3.5 ตัว ผลที่ได้จากการศึกษานี้จึงสามารถสรุปถึงช่วงในการกระจายตัวของแมลงก้นกระดกว่ามีการกระจายตัวสูงที่สุดในช่วง22:00-01:00น.