การเพิ่มมูลค่าเถ้าชานอ้อยโดยนำไปสังเคราะห์ซีโอไลต์โซเดียมเอเพื่อการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ประพิชญา บุญเป็ง, ฐิติอาภา ขำคม, ธัญวรัตม์ คงมั่นกลาง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จตุรพร นิ่มเจริญ, จตุพร วิทยาคุณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบัน ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคํญที่มนุษย์กำลังเผชิญ สาเหตุเนื่องมาจากปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหนึ่งในแก๊สเรือนกระจกที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ในชีวิตประจำวันและในกระบวนการผลิจอุตสาหกรรม แม้ในธรรมชาติจะมีตัวดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คือ ต้นไม้ สำหรับบางพื้นที่ที่มีต้นไม้อยู่น้อยแต่กลับมีการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมาก ต้นไม้ไม่สามารถดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ทั้งหมด ทำให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หลุดรอดไปยังชั้นบรรยากาศก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว
คณะผู้จัดทำจึงได้มีความสนใจในซีโอไลต์ ตัวดูดซับสารพัดประโยชน์ซึ่งมีราคาถูกและกระบวนการผลิตที่สังเคราะห์ได้จากขยะทางการเกษตรบางชนิด ในที่นี้ทางผู้จัดทำได้เลือกที่จะสังเคราะห์ซีโอไลต์จากเถ้าชานอ้อยซึ่งเป็นขยะทางการเกษตรจากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล นอกจากเถ้าชานอ้อยจะเป็นวัสดุในการสังเคราะห์ที่หาได้ง่ายและราคาถูกแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุทางการเกษตร กระบวนการในการสังเคราะห์จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ขั้นแรก การสกัดซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยซึ่งแบ่งเป็นการปรับสภาพด้วยสารละลายกรดและการสกัดซิลิกา ขั้นที่สอง การสังเคราห์ซีโอไลต์ NaA และขั้นสุดท้ายการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีการตั้งเวลาการปรับสภาพด้วยสารละลายเบส ในขั้นตอนการสกัดซิลิกา ศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการปรับสภาพต่างๆ ดังนี้ 30 นาที 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง และ 3 ชั่วโมง ตามลำดับ จากนั้นนำไปสังเคราะห์ซีโอไลต์และวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซับด้วยซีโอไลต์ที่สังเคราะห์โดยใช้ระยะเวลาแตกต่างกัน