ศึกษาปริมาณกรดออกซาลิกและแอนโทไซยานินในใบโหระพาที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิรวิทย์ โอรสรัมย์, วริศรา เจ็นประโคน, นภัสกร ติยะไทธาดา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุปราณี มงคลล้ำ, วารินทร์ เสาร์ทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โหระพาเป็นพืชท้องถิ่นพบได้ในทั่วทุกภาคของประเทศไทยใบมีน้ำมันหอมระเหยทำให้มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์อุดมด้วยสารโภชนาการทำให้ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมอาหารอย่างมากนอกจากนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งใช้เป็นยาระบายและบำรุงสายตา เนื่องจากใบโหระพามีสีม่วง ซึ่งมีส่วนประกอบของสารแอนโทไซยานิน ที่เป็นแหล่งสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ สามารถลดอาการอักเสบ (anti-inflammatory) ช่วยปกป้องหลอดเลือด ลดคอเลสเตอรอลในเลือด อย่างไรก็ตามหากรับประทานใบโหระพาในปริมาณมากๆ หรือเป็นระยะเวลานาน อาจมีโทษหรือมีสารพิษตกค้าง สารพิษในธรรมชาติที่มีอยู่คือกรดออกซาลิก ส่งผลให้เกิดการสะสมของแคลเซียมออกซาเลตซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนนิ่วในไตและนิ่วกระเพาะปัสสาวะดังนั้นผู้จัดทำโครงงานจึงคิดจะศึกษาความแตกต่างของปริมาณกรดออกซาลิกและแอนโทไซยานินในใบโหระพาที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์และการปลูกแบบในดินโดยเทคนิคสเปกโทรฟลูออโรโฟโทเมตรี (Spectrophotometry) เพื่อศึกษาสภาพการปลูกที่เหมาะสมของใบโหระพาเพื่อลดกรดออกซาลิกในและเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระของแอนโทไซยานินในใบโหระพา