การขึ้นรูปแผ่นผ้าไม่ถักไม่ทอจากเส้นใยไคโตซานที่ได้จากกระบวนการปั่นเส้นใยแบบเปียกโดยใช้น้ำเป็นสารพลาสติไซเซอร์เพื่อประยุกต์เป็นแผ่นกรองไมโครพลาสติกในทะเล

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พิมพ์มาดา สว่างวงษ์, พิมพ์ชลัย ศรีจอมขวัญ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จุฑารัตน์ ใจงาม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ไมโครพลาสติกในทะเลเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้างเนื่องจากไม่สามารถย่อยสลายได้และดูดซับสารพิษ เมื่อสัตว์ทะเลบริโภคเข้าไปจึงเกิดอันตรายและส่งผลกระทบต่อการบริโภคแบบลูกโซ่ผู้จัดทำจึงสนใจการจัดทำแผ่นกรองไมโครพลาสติกในทะเลจากไคโตซาน ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ที่มีมากในธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามเส้นใยไคโตซานไม่สามารถคงรูปในน้ำได้ดีนัก และมีสมบัติเชิงกลต่ำ จากการศึกษาพบว่าการขึ้นรูปเส้นใยไคโตซานร่วมกับพอลิเอทิลีนออกไซด์จะทำให้เส้นใยไคโคซานมีความเสถียรในน้ำสูงขึ้น นอกจากนี้หากใช้น้ำเป็นสารพลาสติไซเซอร์ในกระบวนการปั่นเส้นใยแบบเปียกจะทำให้ไคโตซานมีสมบัติเชิงกลที่ดีขึ้น ผู้จัดทำจึงสนใจศึกษาการพัฒนาคุณสมบัติของเส้นใยไคโตซานเพื่อนำไปขึ้นรูปผ้าไคโตซานไม่ถักไม่ทอและนำไปประยุกต์เป็นแผ่นกรองไมโครพลาสติก โดยศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างไคโตซานและพอลิเอทิลีนออกไซด์ในการขึ้นรูปเส้นใย อัตราส่วนเอทานอล-น้ำในการขจัดพอลิเอทิลีนออกไซด์ออกเพื่อให้ได้เส้นใยไคโตซานบริสุทธิ์และวิธีการขึ้นรูปผ้าไคโตซานไม่ถักไม่ทอเพื่อทำแผ่นกรอง รวมทั้งหาประสิทธิภาพและคุณสมบัติของแผ่นกรองนั้น ว่ามีสมบัติเชิงกลอย่างไร และคงรูปในน้ำทะเลได้หรือไม่ เพื่อนำไปพัฒนาและใช้ประโยชน์จริงในการกรองไมโครพลาสติกในทะเล