การพัฒนาเซ็นเซอร์กระดาษเพื่อใช้ในการตรวจจับไซยาไนด์ไอออนจากหน่อไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีรภัทร อ้วนแก้ว, ฐปนรรฆ์ เทพสุวรรณ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อารีรัตน์ มัฐผา, มีนารัตน์ วงศ์เสน่ห์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
หน่อไม้เป็นพืชที่มีสารไซยาไนด์ ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย หากได้รับปริมาณมากสามารถทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เทคนิคสำหรับการตรวจวัดไซยาไนด์ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ เช่น เทคนิค standard method ซึ่งเทคนิคนี้มีความแม่นยำสูง แต่ข้อจำกัดของเทคนิคนี้คือต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ และที่สำคัญไม่สามารถนำไปวิเคราะห์ในภาคสนามได้ สารประกอบไซยาไนด์สามารถทำปฏิกิริยากับสารประกอบเชิงซ้อนแล้วเกิดสารประกอบเชิงซ้อนใหม่ที่เป็นตะกอนที่สังเกตได้ สารประกอบเชิงซ้อนจะประกอบด้วยอะตอมที่อยู่ตรงกลางและมีกลุ่มของไอออนหรือโมเลกุลต่างๆ ห้อมล้อมอยู่เรียกว่า ลิแกนด์ ( Ligand ) ซึ่งธาตุทรานซิชันส่วนใหญ่เกิดสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสีแตกต่างกัน จากปัญหาในข้างต้น ซึ่งผู้พัฒนามีความสนใจเกี่ยวกับการเกิดสีของตะกอนสารประกอบทรานซิชันเมื่อถูกห้อมล้อมด้วยลิแกนด์ของไซยาไนด์ ดังนั้นคณะผู้พัฒนาจึงนำหลักการการเปลี่ยนสีของสารประกอบเชิงซ้อนทรานซิชันนำมาพัฒนาเป็นชุดตรวจสอบแบบกระดาษเพื่อใช้ในการตรวจจับไซยาไนด์ไอออนในหน่อไม้ที่สามารถทดลองได้ง่ายและใช้งานในภาคสนามได้ ในการพัฒนาครั้งนี้มีการใช้เซ็นเซอร์กระดาษร่วมกับวิธีการตรวจหาธาตุไนโตรเจนด้วยวิธีการ Lassaigne’s test ในการตรวจจับไซยาไนด์ไอออน เซ็นเซอร์กระดาษที่พัฒนาขึ้นสามารถที่จะทำให้การตรวจจับไซยาไนด์ไอออนได้อีกวิธีหนึ่ง สามารถที่จะนำไปใช้งานในภาคสนามได้ แลสามารถลดค่าใช้จ่ายในการตรวจจับไซยาไนด์ไอออนได้
คำสำคัญ: ไซยาไนด์ไอออน; เซ็นเซอร์แบบกระดาษ; Lassaigne’s test;