การผลิตเห็ดถั่งเช่าสำหรับผู้ไม่บริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์โดยใช้โปรตีนจากถั่วพันธุ์พื้นเมืองที่ผ่านการไฮโดรไลซิสด้วยโปรตีเอสจากผลไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐนันท์ อภิวงค์, สุรวัศ ยั่งยืน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุธิพงษ์ ใจแก้ว, เกียรติศักดิ์ อินราษฎร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เห็ดถั่งเช่า (Cordyceps miltaris) เป็นเห็ดเศรษฐกิจที่อุดมด้วยสารที่มีสรรพคุณทางเภสัชกรรม
อย่างไรก็ตามในการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าส่วนใหญ่มักใช้ซากหนอนแมลงเป็นวัสดุเพาะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของ
การใช้งานในกลุ่มวีแกนหรือผู้ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการไฮโดรไลซิส
โปรตีนจากถั่วพันธุ์พื้นเมืองด้วยโปรตีเอสจากผลไม้ต่อคุณภาพของเห็ดถั่งเช่าและปริมาณสารออกฤทธิ์
(cordycepin) โดยนำถั่วพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ ถั่วแระต้น (Cajanus indicus), ถั่วแป๋(Vigna umbellata), ถั่ว
ราชมาด (Phaseolus lunatus) และถั่วสอด (Vigna unguiculata) มาไฮโดรไลซิสโปรตีนด้วยโปรตีเอส จาก
มะละกอ (ปาเปน) และสับปะรด (โบมิเรน) พบว่ากระบวนการดังกล่าวทำให้ขนาดโมเลกุลโปรตีนในถั่วทุกชนิด
มีขนาดเล็กลง โดยการใช้โปรตีเอสจากมะละกอทำให้ขนาดโมเลกุลโปรตีนเล็กกว่าโปรตีเอสจากสับปะรด
รวมทั้งยังส่งผลทำให้สัดส่วนของกรดอะมิโนอะลานีนต่อกรดไขมันทั้งหมดสูงขึ้น 1.2 เท่า ในการทดลองต่อมา
ได้พัฒนาสูตรอาหารเพื่อการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่า โดยเติมโปรตีนไฮโดรไลเซทจากถั่วพื้นเมืองเปรียบเทียบกับ
สูตรอาหารที่ใช้ใช้จมูกข้าวไรเบอรี่และการใช้หนอนไหม เพาะเลี้ยงนาน 45 วัน พบว่าการใช้ไฮโดรไลเซสโปรตีน
จากถั่วแป๋ด้วยโปรตีเอสจากมะละกอทำให้เกิดดอกเห็ดเพิ่มขึ้น 2.3 เท่า มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.8 เท่า เมื่อเทียบกับ
สูตรอาหารที่ใช้จมูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ทั้งนี้สูตรอาหารดังกล่าวทำให้เห็ดถั่งเช่าที่ได้มีปริมาณสารออกฤทธิ์
(cordycepin)ไม่แตกต่างจากสูตรอาหารที่ใช้โปรตีนจากหนอนไหม โครงงานนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการ
พัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าโดยใช้ธัญพืชในท้องถิ่น ซึ่งผลผลิตเห็ดถั่งเช่าที่ได้สามารถนำไปใช้ได้ในกลุ่มผู้ไม่
ใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่อไป