การพัฒนากระถางครอบบังจากวัสดุรีไซเคิลคอมโพสิตเพื่อการผลิตกุยช่ายขาว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จินตนา จองแค, สุภัทรา หัตถกอง, วิราวรรณ มาเยอะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุธิพงษ์ ใจแก้ว, เกียรติศักดิ์ อินราษฎร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทั้งมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับของพลาสติกขนาดใหญ่ไปจนถึงระดับไมโครพลาสติก การคัดแยะขยะพลาสติกตามคุณสมบัติของแต่ละชนิดและการนำไป รีไซเคิลเพื่อนำกลับไปใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์และสมบัติที่สอดคล้องกับงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดปัญหาขยะพลาสติก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระถางครอบบังแสงจากวัสดุรีไซเคิลคอมโพสิตที่เหมาะสมต่อการผลิตกุยช่ายขาว ซึ่งเป็นอาชีพในชุมชนที่ให้ผลตอบแทนในราคาที่สูงกว่ากุยช่ายเขียวถึง 5 เท่า แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาผลของวัสดุครอบบังแสงชนิดต่างๆ ต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของกุยช่ายขาว โดยเปรียบเทียบสภาพปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อุณภูมิ ความชื้น และคุณภาพของกุยช่ายที่ถูกครอบด้วยวัสดุครอบต่าง ๆ ที่เกษตรกรนิยมใช้ คือ กระถางดินเผา กระถางพลาสติก และกระบอกไม้ไผ่ พบว่า กุยช่ายขาวที่ได้มีคุณภาพแตกต่างกัน โดยอุณหภูมิต่ำและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมีความแปรผันกับคุณภาพที่ดีของกุยช่าย ตอนที่ 2 เป็นการศึกษาและพัฒนากระถางครอบบังแสงจากวัสดุรีไซเคิลคอมโพสิตที่มีความเหมาะสมต่อสภาพปัจจัยและคุณภาพของการผลิตกุยช่ายขาว ทดลองโดยนำกล่องผลิตภัณฑ์ UHT ที่ปั่นแยกกระดาษออกเหลือไว้แต่พลาสติก (LDPE) และอลูมิเนียมฟอยล์ มาผสมกับขยะพลาสติกชนิด PP หรือ HDPE ด้วยการอัดด้วยความร้อน ในอัดตาส่วนกล่อง UHT : PP เป็น 100:0, 90:10 และ 80:20 แล้วนำไปทดสอบสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ การพองตัวในน้ำ การอุ้มน้ำ น้ำหนัก ความคงทนต่อความร้อน และการทนต่อแรงดึง แล้วนำไปครอบบังแสงเพื่อผลิตกุยช่ายขาว เปรียบเทียบคุณภาพของกุยช่ายขาวที่ได้ และต้นทุนในการผลิต ซึ่งการทดลองตอนที่สองนี้ กำลังอยู่ในตอนของการดำเนินการและพัฒนางานต่อไป