ผ้าปิดแผลเคลือบผ้าก๊อซจากไฟโบรอินและเซริซินที่สกัดจากรังไหม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณิชกานต์ อุดมา, ณิชารีย์ ไทยสะเทือน, ทิตยาภรณ์ ลาลุน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นวรัตน์ โสตศิริ, เจตนิพิฐ แท่นทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เมื่อผิวหนังเกิดบาดแผลจากอุบัติเหตุ หรือแผลผุผองจากอุบัติเหตุ วิธีการปกป้องบาดแผลขั้นพื้นฐาน คือ ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติหรือเปิดให้น้ำไหลผ่านบริเวณบาดแผล และปิดแผลด้วยผ้าก๊อซหรือผ้าแห้งสะอาด และเป็นที่ทราบกันว่า ไฟโบรอิน (Fibroin) เป็นโปรตีนประเภทเส้นใยและไม่ละลายน้ำเซริซิน (Sericin) ที่ได้จากรังไหม ซึ่งมีลักษณะเป็น amorphous matrix ทำหน้าที่เป็นกาวเชื่อม fibroin filaments ไว้ด้วยกัน เซริซินสามารถช่วยป้องกันผิวแห้ง ลดการเจริญเติบโตของไวรัสและสามารถต้านไวรัสได้ อีกทั้งยังมีกรดอะมิโน 16–18 ชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการทำลายของเซลล์ร่างกายโดย oxygen free radicals ซึ่งการที่เซลล์ร่างกายถูกทำลายนี้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง และความชรา นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น อีกทั้งยังกำจัดสิ่งสกปรกและยืดอายุเซลล์ได้

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้จัดทำต้องการศึกษาและพัฒนาการทำผ้าปิดแผล ที่ทำจากไฟโบรอินและเซริซินสกัดจากรังไหมที่ลามิเนตบนผ้าก๊อซ เพื่อใช้ในการรักษาบาดแผลด้วยวิธีการสกัดไฟโบรอินและเซริซินโดยการนำรังไหมไป autoclave จากนั้นนำไปสกัดไฟโบรอินและเซริซิน และนำไปขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มที่มีพีเอ็มเอ็มเอเป็นฐานรอง นำแผ่นฟิล์มที่ได้ไปลามิเนตบนผ้าก๊อซ เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ในการผลิตผ้าปิดแผลจากวัสดุท้องถิ่น มีความปลอดภัยและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ