อุปกรณ์ติดตามดาวอัตโนมัติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิยะธิดา สุภาพ, ณัชพล เพียรพยุห์เขตต์, ณัชชารีย์ อารยะสิทธินนท์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เจตนิพิฐ แท่นทอง, สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันการศึกษาและสังเกตวัตถุในท้องฟ้าอาศัยกล้องโทรทรรศน์ (Telescope) เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์มีขนาดใหญ่มีน้ำหนักมากและให้กำลังขยายสูง การเคลื่อนไหวกล้องโทรทรรศน์เพียงเบาๆ จะทำให้ภาพสั่นเบลอขาดความคมชัด กล้องโทรทรรศน์จึงจำเป็นต้องติดตั้งอยู่บนฐานตั้งกล้อง (Telescope mount) ฐานขาตั้งกล้องพอจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามลักษณะของแกนหมุนคือ แบบฐานระบบอัลตาซิมุท (Altazimuth) ระบบนี้เป็นฐานตั้งกล้องถ่ายรูปทั่วๆไป มีแกนหมุนสองแนวคือแนวราบ (azimuth) และแนวตั้ง (altitude) มีราคาถูก สร้างง่าย แต่ไม่เหมาะกับงานทางดาราศาสตร์นัก เนื่องจากทิศทางการหมุนของแกนนั้นไม่สอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงดาว และแบบฐานระบบศูนย์สูตร (Equatorial) มีแกนหมุนสองแกน แกนหนึ่งชี้ไปที่ขั้วท้องฟ้า (บริเวณใกล้ดาวเหนือ) เรียกว่าแกนขั้วฟ้า (Polar axis) แกนนี้จึงหมุนตามการเคลื่อนที่ของดวงดาว อีกแกนหนึ่งซึ่งตั้งฉากกับแกนขั้วฟ้า คือ แกนเดคลิเนชัน (Declination axis) แกนนี้จะหันกล้องไปในทางเดคลิเนชันหรือตามแนวขั้วฟ้าเหนือ-ใต้ ในขณะที่ตั้งกล้องสังเกตวัตถุท้องฟ้านั้น วัตถุจะเคลื่อนที่ตามแนวเดคลิเนชันไปทางตะวันตกช้าๆ ผู้สังเกตการณ์จึงต้องปรับที่แกนเดคลิเนชันตามตลอดเวลาเพื่อไม่ให้วัตถุตกขอบจอภาพไป หรือซื้ออุปกรณ์ติดตามดาวอัตโนมัติมาติดตั้งกับขาตั้งกล้องเพิ่มซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนมีราคาแพง คณะผู้จัดทำจึงได้ร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์ที่ช่วยติดตามดาวอัตโนมัติด้วยการนำอุปกรณ์ติดตั้งเข้ากับขาตั้งกล้อง ทั้งยังมีราคาถูกกว่าอุปกรณ์ติดตามดาวอัตโนมัติตามท้องตลาด โดยนำโปรแกรมหน่วงเวลาการหมุนขาตั้งกล้องและระบบส่งกำลังด้วยมอเตอร์มาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ อีกทั้งยังมีการนําซอฟแวร์ Blender โปรแกรมสําหรับสร้างงาน 3D มาช่วยในการออกแบบแบบจําลองของอุปกรณ์ และใช้ในการสั่งพิมพ์ด้วย 3D Printing