การทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียในดินบริเวณรอบต้นปาล์มต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิตทิยาพร นวลนิ่ม, พิชญ์สินี เหลือแดง, พัณณิตา หมัดร่วม
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
หนึ่งฤทัย ชัยมณี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบคทีเรียที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและเพื่อคัดแยกแบคทีเรียที่อยู่บริเวณรอบต้นปาล์ม จาก 3 บริเวณ ได้แก่ อำเภอกันตัง อำเภอนาโยง และ อำเภอปะเหลียน โดยเก็บตัวอย่างดินจากแต่ละบริเวณบริเวณละ 3 ต้น อย่างละ 10 กรัม โดยเก็บให้ห่างจากต้น 1 เมตร และขุดลงไป 30 เซนติเมตร โดยเว้นระยะห่างระหว่างต้น 1 ต้น และนำดินที่ได้จากแต่ละบริเวณมาทำการคัดแยกแบคทีเรีย และเราจะนำแบคทีเรียที่ได้มาศึกษาประสิทธิภาพของแบคทีเรีย โดยใช้เกณฑ์ดังนี้ การศึกษาประสิทธิภาพในการตรึงก๊าซไนโตรเจน การทดสอบความสามารถในการละลายฟอสฟอรัส และการทดสอบความสามารถในการละลายโพแทสเซียม
จากการศึกษาพบว่าในดินแต่ละบริเวณนั้นมีแบคทีเรียที่แตกต่าง และหลากหลายกันออกไป จากการที่แบคทีเรียแต่ละชนิดนั้นมีประสิทธิภาพในการตรึงการไนโตรเจน การละลายฟอสฟอรัส และการละลายโพแทสเซียมได้แตกต่างกัน ทำให้ดินในแต่ละพื้นที่นั้นมีปริมาณ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโพแทสเซียม(K) ที่แตกต่างกัน ซึ่ง ธาตุอาหารทั้ง 3 ชนิดนี้ ล้วนเป็นธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช โดย ไนโตรเจน (N) ช่วยให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโตทางใบและลำต้น กระตุ้นให้พืชเจริญเติบโต แข็งแรง อีกทั้งเพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่พืช ฟอสฟอรัส (P) ส่งเสริมการออกดอกและผล ติดเมล็ด การพัฒนาเมล็ดและผล เร่งการเจริญเติบโตของราก พร้อมช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคพืช และมีส่วนช่วยในการเร่งการสุกของผลให้เร็วขึ้น โพแทสเซียม (K) ช่วยพืชสร้างอาหาร หรือช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และมีส่วนช่วยทำให้รากแข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลง อีกทั้งเพิ่มขนาดผลผลิต เมล็ด และปรับปรุงคุณภาพผลผลิตอีกด้วย ทำให้ผลผลิตที่ได้จากแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกัน