การศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อระยะการเคลื่อนที่ของผลยางนาเพื่อใช้ในการสร้างสมการสำหรับการประยุกต์ใช้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จีรภัทร์ ภู่ผะกา, พรปวีณ์ ภคทิพากร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐภัสสร เหล่าเนตร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ยางนาสามารถขยายพันธุ์ได้โดยอาศัยปัจจัยธรรมชาติ เช่น ลม แมลง นำพาดอกยางนาไปในที่ต่างๆได้แต่การเคลื่อนที่ไปในระยะต่างๆที่ไกลจากต้นแม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปีกลูกยางนา 2 ปีกที่ไม่เท่ากัน ทั้งขนาด ทิศทางมุมเฉียง การแบะบาน การห่อตัว โค้งมน รวมถึงลักษณะพริ้วบิดของ 3 ปีกเล็กที่อยู่ติดผล ทำให้การขยายพันธุ์จากผลของยางนาสามารถเคลื่อนที่ไปได้หลายระยะในทางกลับกันหากทุกอย่างอยู่ในสมดุลไม่พริ้วบิดหรือกลมเกลี้ยง ผลจะตกร่วงหล่นตรงๆ โดยไม่มีการหมุนกระจายตัวออกไปจากต้นแม่ โดยการเคลื่อนที่จะอาศัยปัจจัย เช่น ความกว้างของปีกซึ่งเป็นรูปแบบวงรีสามารถหาพื้นที่ได้จากสมการวงรีและจะมีผลต่อการยกตัวของผลดอกยางตามกฎของแบร์นูลลี และการเคลื่อนที่จะเป็นแบบโพรเจกไทล์ และมีการหมุนของผลเมื่อยกตัวสูงขึ้น
ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อระยะการเคลื่อนที่ของผลยางนาเพื่อใช้ในการสร้างสมการสำหรับประยุกต์ใช้ในอนาคตต่อไป เช่น การนำไปประยุกต์เป็นต้นแบบในการขนส่งทางอากาศ การนำไปทำเป็นต้นแบบแคปซูลสำหรับขยายพันธุ์