การศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคทางผิวหนังของขมิ้นชัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สัณห์ฤทัย บุญช่วย, ปทิตตา เจริญรักษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิทัศน์ เพราแก้ว, กีรติ กุลวานิชไชยนันท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคทางผิวหนังของขมิ้นชันพันธุ์ทองในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนำสารสกัดที่ได้มาเจือจางด้วย Mueller-Hinton Broth (MHB) เพื่อหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ (Minimal inhibitory concentration : MIC) ของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus อยู่ที่ประมาณ 12.5±10.00 mg/ml ส่วนของเชื้อรา Candida albicans อยู่ที่ประมาณ 42.09±15.31 mg/ml จากนั้นนำไปทดสอบค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Minimal bactericidal concentration : MBC) ของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus อยู่ที่ประมาณ 25 mg/ml ส่วนค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อรา (Minimal fungicidal concentration : MFC) ของเชื้อรา Candida albicans อยู่ที่ประมาณ 1.00±0.5 mg/ml และเมื่อเปรียบเทียบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง clear zone พบว่าขมิ้นชันมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 29.3±6.00 mm. ซึ่งมากกว่ายาปฏิชีวนะ Penicillin ที่มีขนาดเส้น
ผ่านศูนย์กลาง clear zone เฉลี่ยเท่ากับ 17.33±0.95 mm. จึงสรุปได้ว่าขมิ้นชันมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีกว่ายาปฏิชีวนะ Penicillin