อัลตร้าคาปาซิเตอร์จากนาโนเซลล์ลูโลสผสมคาร์บอนที่ได้จากกากกะลาปาล์ม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กัญญาณัฐ สมิงแก้ว, ธฤษวรรณ ลิ่วคุณูปการ, ฟิตดาว หีมปอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สาธิต บัวดำ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันมนุษย์มีความต้องการการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยในประเทศไทยความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 1,200 เมกะวัตต์ เป็นเหตุให้พลังงานหมุนเวียนที่ได้จาก แสงอาทิตย์ น้ำ ลม และชีวมวล ถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้น จึงต้องมีการกักเก็บพลังงาน โดยการที่จะนำพลังงานเหล่านั้นมาใช้ได้ จำเป็นต้องอาศัยตัวเก็บประจุุ ซึ่งตัวเก็บประจุที่นิยมใช้งานอยู่นั้น สามารถเก็บและปล่อยพลังงานออกมาได้เพียงเล็กน้อย การจัดเก็บพลังงานแบบไม่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ ที่เรียกว่าตัวเก็บประจุยิ่งยวดหรืออัลตร้าคาปาซิเตอร์ (Ultracapacitor) จึงเหมาะสมที่จะนำมาทดแทนตัวเก็บประจุแบบเดิม เพราะสามารถชาร์จไฟได้เร็ว ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง และให้กำลังไฟต่อน้ำหนักวัตถุที่สูงกว่าแบตเตอรี่
ปาล์ม เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษรที่สำคัญของไทย แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ในปีที่ผ่ามา เกิดมาตรการจำกัดการเดินทาง ทำให้ความต้องการโดยรวมลดลง ส่งผลให้การผลิตปาล์มน้ำมันไทยไตรมาส 1 ปี 2563 จำนวน 3.82 ล้านตัน ลดลง ร้อยละ 19.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผู้จัดทำเล็งเห็นว่าส่วนที่เหลือจากการผลิตปาล์มน้ำมันนั้น คือกากปาล์ม ซึ่งสามารถนำไปขายได้ราคาต่ำ แต่มีส่วนประกอบเป็นเซลลูโลสจำนวนมาก เหมาะกับการนำไปทำเป็นพลังงานชีวมวลจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติให้กลายเป็นแอกทิเวตคาร์บอน ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญของการผลิตอัลตร้าคาปาซิเตอร์ โดยถูกนำมาใช้เป็นขั้วไฟฟ้า ได้เป็นการสร้างอัลตร้าคาปาซิเตอร์ที่เหมาะสมจะนำไปเก็บพลังงานในอนาคตและเพิ่มมูลค่าให้กับส่วนเหลือทิ้งของการผลิตน้ำมันปาล์ม