การสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์จากเปลือกทุเรียนเพื่อยับยั้งเชื้อรา Fusarium oxysporumที่ก่อให้เกิดโรคเหี่ยวในพืช

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นุตอัยนี ยาง๊ะ, โสรยา วาฮับ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กษิดิศ การัตน์, มูฮัมหมัดริฎวาน สมานุรัตน์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพัฒนาวิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โรคที่ทำให้พืชเหี่ยวเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum ที่ทำให้พืชเศรษฐกิจหลายชนิดเสียหาย

อย่างรุนแรง การยับยั้งเชื้อรา Fusarium oxysporum ในปัจจุบันมักใช้สารเคมีในการกำจัดโรคซึ่งเป็น

อันตรายต่อมนุษย์สามารถก่อความระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ หากสัมผัสต่อผิวหนังเป็นเวลานานจะทำให้

เกิดผิวหนังอักเสบอย่างรุนแรง ซึ่งเรียกว่า โรคออกไซด์พ็อกซ์ (oxide pox) อย่างไรก็ตามการสังเคราะห์

อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์สำหรับการสังเคราะห์ทางกายภาพนั้นมีข้อเสียคือมีต้นทุนในการผลิตสูง ดังนั้น

เป้าหมายจึงมุ่งเน้นพัฒนาวิธีการสังเคราะห์และวิธีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อต้องการให้อนุภาคนา

โนซิงค์ออกไซด์มีความเป็นพิษน้อยลงและลดต้นทุนการผลิต ในการสังเคราะห์ด้วยวิธีการ Green synthesis

หรือเรียกว่ากระบวนการสังเคราะห์สีเขียว เป็นการใช้สารสกัดจากเปลือกทุเรียนเป็นตัวรีดิวซ์ทดแทนการใช้

สารเคมีในการยับยั้งเชื้อFusarium oxysporum เพื่อให้การสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์จากเปลือก

ทุเรียนนี้สามารถนำไปพัฒนาและต่อยอดสำหรับการใช้ในด้านเกษตรกรรมหรือศาสตร์การแพทย์ต่อไป