ผลกระทบของเศษแก้วต่อกำลังอัดและความต้านทานต่อการขัดสีของพื้นหินขัด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จุฑามณี โลหะมาศ, สุทนต์ ผลพันธิน, พุทธรัตน์ ศิริกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธันยพร ป้องกัน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติด้านกำลังอัดและความต้านทานต่อการขัดสีของแผ่นพื้น
หินขัดที่ใช้เศษแก้วเป็นส่วนผสม อัตราส่วนผสมของหินขัดคือ 1 : 2.5 (ปูนซีเมนต์ขาว : หินเกล็ด) โดยน้ำหนัก ใช้เศษแก้วแทนที่หินเกล็ดร้อยละ 0, 10, 25, 50, 75 และ 100 โดยน้ำหนักของมวลรวม วัสดุประสานที่ใช้มี
2 ชนิดคือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์สีขาว มีความถ่วงจำเพาะ 3.08 ใช้สำหรับส่วนของหินขัด และปูนซีเมนต์
ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 มีความถ่วงจำเพาะ 3.13 ใช้สำหรับทำชั้นปูนทรายรองพื้น และมวลรวมละเอียดที่ใช้ ได้แก่ ทรายแม่น้ำ มีความถ่วงจำเพาะ 2.58 และร้อยละการดูดซึมเท่ากับ 0.78 การทดลองประกอบด้วย การทดสอบกำลังอัดของส่วนผสมหินขัด และการทดสอบความต้านทานต่อการขัดสี การทดสอบกำลังอัดของส่วนผสมหินขัดตามมาตรฐาน ASTM C109 ใช้ตัวอย่างขนาด 5 x 5 x 5 เซนติเมตร ทดสอบกำลังอัดที่อายุ 7, 14 และ 28 วัน ความทนทานต่อการขัดสีตามมาตรฐาน ASTM C944 ใช้ตัวอย่างขนาด 30 x 30 x 4 เซนติเมตร ทดสอบความทนทานต่อการขัดสีเมื่อตัวอย่างมีอายุครบ 28 วัน การขัดสีใช้เครื่องทดสอบ ใช้
น้ำหนักที่กดทับขณะทดสอบเท่ากับ 10 กิโลกรัม ขัดสีด้วยความเร็วรอบ 200 รอบ/นาที เป็นเวลา 2 นาที โดยจะหาเปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่หายไปหลังจากตัวอย่างผ่านการทดสอบด้วยเครื่องขัดแล้ว ในแต่ละครั้งของการทดสอบใช้จำนวน 3 ตัวอย่าง เพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ย