การสกัดสีย้อมธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นสำหรับการย้อมเนื้อเยื่อพืช

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธัญมน ทับเมือง, ธัชชนนท์ สงกลิ่น, อภิชา เพชรรัตน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

รัชนีกร ชุมแก้ว, ไชยา รัชนีย์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสทิงพระวิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

โครงงานการสกัดสีย้อมธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นสำหรับการย้อมเนื้อเยื่อพืช มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชนิดของพืชในท้องถิ่นที่จะนำมาสกัดสารเพื่อนำมาย้อมเนื้อเยื่อพืช ศึกษาวิธีการสกัดสี ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างใบพืชกับตัวทำละลายและเปรียบเทียบคุณภาพของสีที่สกัดได้กับสีที่ขายในท้องตลาด จากการศึกษา โดยนำพืชในท้องถิ่นมา 7 ชนิด คือดอกอัญชัน เปลือกแก้วมังกร ดอกคุณนายตื่นสาย ใบคนที ใบหูกวาง ใบสาบเสือและใบผักหวานมาสกัดสารด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส พบว่า สามารถแบ่งเป็นพืชออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ให้สารสีแดงหรือสารเบทาเลนเป็นรงควัตถุหลัก 3 ชนิด คือ ดอกอัญชัน เปลือกแก้วมังกร และดอกคุณนายตื่นสายและกลุ่มที่ให้สารสีเขียว 4 ชนิด คือ ใบหูกวาง ใบคนทีสอทะเล ใบสาบเสือ ใบผักหวานและเมื่อศึกษาวิธีการสกัดสีแดงโดยการสกัดด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส กรดอะซิติกและเอทานอล พบว่า ตัวทำละลายที่สกัดสีได้ดีที่สุด คือ เอทานอล รองลงมาคือน้ำร้อนอุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส และกรดอะซิติกตามลำดับ เมื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมเอทานอลกับคุณนายตื่นสาย พบว่า อัตราส่วนเอทานอลกับคุณนายตื่นสาย 1:1โดยปริมาตรย้อมสีได้ดีที่สุดทำให้มองเห็นส่วนประกอบของเซลล์ของลำต้นหมอน้อยได้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของสีที่สกัดได้กับสีที่ขายในท้องตลาดคือสี Safranin O พบว่า สีที่สกัดได้คือสีแดงจากต้นคุณนายตื่นสายมีสีใกล้เคียงกับสี Safranin O และเมื่อศึกษาวิธีการสกัดสีเขียวโดยการสกัดด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส กรดอะซิติกและเอทานอล พบว่า สีที่สกัดตัวทำละลายที่สกัดเอทานอล ได้ดีที่สุด รองลงมาคือกรดอะซิติกและน้ำร้อนอุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส ตามลำดับ เมื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมเอทานอลกับใบคนทีสอทะเล พบว่า อัตราส่วนเอทานอลกับใบคนทีสอทะเล 1:1โดยปริมาตรย้อมสีได้ดีที่สุดทำให้มองเห็นส่วนประกอบของเซลล์ของลำต้นเฟื่องฟ้าได้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสีที่สกัดได้กับสีที่ขายในท้องตลาดคือสี FAST GREEN พบว่า สีที่สกัดได้คือสีเขียวจากใบคนทีสอทะเลมีสีใกล้เคียงกับสี FAST GREEN