เครื่องดูดน้ำลายขนาดพกพาสำหรับผู้ป่วยติดเตียง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปราณปัญญ์ อภิบุญ, ปริชญา วอนเผื่อน, นภนต์ สุวรรณรัศมี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นัทชาริน อาษาธง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
หลายครั้งที่มีโอกาสได้พบผู้ป่วยติดเตียง สังเกตเห็นว่าผู้ดูแลผู้ป่วย ไม่ได้ใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่ผู้ป่วย จึงเกิดข้อสงสัย ว่าจะทำอย่างไรเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น จึงนำข้อสงสัยและปัญหาที่เก็บไว้ในใจ ไปปรึกษาทันตแพทย์ และค้นคว้าเพิ่มเติมทำให้ทราบว่าขณะนี้โลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว ในกลุ่มผู้สูงอายุจะมี “กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง” ด้วยจำนวนหนึ่ง ปี 2013 สหรัฐอเมริกามีประชากรผู้ป่วยติดเตียง 2.6 ล้านคน ปี 2015 จีนมี 112 ล้านคน อีก 20 ปี จะเพิ่มเป็น 248 ล้านคน ปี 2564 ไทยมี 3 - 4 แสนคน ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง สิ่งที่ถูกมองข้ามและละเลยเสมอ คือ “ การดูแลสุขภาพช่องปาก” การแปรงฟันเป็นวิธีหนึ่งของการทำความสะอาดปากและฟัน แต่มีความยุ่งยาก และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดการสำลักน้ำเข้าปอดในขณะแปรงฟันได้
ทีมจึงประดิษฐ์เครื่องดูดน้ำและน้ำลายขนาดเล็กเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการช่วยแปรงฟันให้แก่คนดูแลผู้ป่วยติดเตียง โดยใช้ปั๊มขนาดเล็ก และแรงพอที่จะดูดน้ำและน้ำลายแต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย เชื่อมต่อเข้ากับแบตเตอรี่ บรรจุลงในกล่องที่แข็งแรง ต่อสวิทช์ปิดเปิด เสียบท่อดูดน้ำลายทางท่อน้ำเข้า เสียบท่อน้ำออกให้น้ำลายไหลลงขวดพลาสติกที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อ เจาะรูระบายอากาศข้างขวด ติดตั้ง Bacteria filter ป้องกันการแพร่เชื้อสู่อากาศ วัดแรงดูด พบว่า เครื่องดูดน้ำลายมีแรงดูดน้อยกว่ายูนิตทันตกรรม 5 เท่า แต่มีอัตราการดูดน้ำมากกว่า เมื่อนำไปทดลองดูดน้ำแป้ง1%-7% ที่ต้มจนหนืด วัดความหนืดด้วยเครื่องมือชื่อ Zahn Cup เป็นอุปกรณ์วัดความหนืดแบบการไหล (Viscosity Flow Cup) มีหน่วยวัดเป็น Stoke (cSt) หรือตารางเซนติเมตรต่อวินาที เป็นอุปกรณ์วัดค่าความหนืดที่ใช้กันแพร่หลายในอุตสาหกรรมสี แล้วนำไปทดลองดูดเพื่อวัดอัตราการดูด เปรียบเทียบกับระบบยูนิตทันตกรรม พบว่ามีอัตราการดูดใกล้เคียงกัน แต่น้ำลายมนุษย์ มีความหนืดเพียง 1.5-1.6 cSt ซึ่งมีความหนืดน้อยกว่าน้ำแป้งต้มสุก 2% ความหนืด 5-60 cSt ดังนั้นเครื่องดูดน้ำลาย จึงนำไปใช้ดูดน้ำและน้ำลายขณะแปรงฟันได้ ทดสอบอายุการใช้งานโดยนำชิ้นส่วนปั๊ม แช่ 10 % Sodium Hypochlorite 5 นาที ล้างน้ำเปล่า ทำซ้ำ 1,500 ครั้ง 125 ชั่วโมง และดูด10 % Sodium Hypochlorite ต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง ทำซ้ำ 20 รอบ 240 ชั่วโมง เครื่องยังทำงานได้ปกติ จากการทดสอบดูดสารละลายต่อเนื่อง ทำให้ได้ข้อมูลว่าแบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่า 12 ชั่วโมง ยังสามารถดูดน้ำแป้ง 4% ความหนืด 20-250 cSt โดยกำลังไฟไม่ลดลง นำไปคำนวณ หากนำเครื่องไปใช้ดูดน้ำลายผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ลืมหรือใช้กล้ามเนื้อคอบังคับการกลืนหรือบ้วนน้ำลายไม่ได้ จากอัตราการไหลของน้ำลายมนุษย์ 0.58 มล/นาที ถ้าดูดน้ำลาย 1 นาทีต่อ 1ครั้ง ดูด ทุก 1 ชั่วโมง ใช้แบตเตอรี่ 24 นาทีต่อวัน หรือคำนวณจากการช่วยแปรงฟันวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที ใช้แบตเตอรี่ 30 นาทีต่อวัน สรุปว่า การชาร์ตแบตเตอรี่ 1ครั้ง ใช้งานได้นานกว่า 10 วัน จากนั้นพัฒนาจากการใช้ถ่านอัลคาไลน์ ไปเป็นชาร์ตไฟบ้าน, USB และ จากรถยนต์ เพิ่มสวิชท์ปรับเพิ่มและลดความแรง
จุดเด่นของเครื่อง ได้แก่ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก ใช้งานง่าย ประหยัด มีประสิทธิภาพในการดูดสูง นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
หลังจากทีมงานได้นำเครื่องดูดน้ำลายขนาดพกพาสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เข้าร่วมการแข่งขันและได้รับรางวัล ทำให้ได้ความรู้ ประสบการณ์ แนวคิดและทราบปัญหา นำมาพัฒนางานให้สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดย ทีมงานมองเห็นปัญหาระบบการทำงานของเครื่องดูดน้ำลาย พบว่าน้ำหรือน้ำลายที่ดูดผ่านเข้าไปในตัวปั๊ม ที่ไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ และอาจมีแรงดันกลับ ส่งผลให้น้ำลายไหลย้อนกลับไปยังผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้ส่งผลต่อการติดเชื้อ ทีมงานจึงพัฒนาให้เครื่อง มีหลักการทำงาน ให้ท่อนำน้ำลายต่อเข้ากับขวดบรรจุของเหลวโดยตรง ติดตั้งAir Filter, Overflow Valve, Negative pressure regulator, Vacuum meter แล้วนำหัวดูดเสมหะ(saliva ejector) ซึ่งมีตัวควบคุมการปิด-เปิดปรับแรงดูดได้ตามต้องการ (adjustable suction valve control) มาต่อเข้ากับสายดูดเพื่อนำไปดูดในปากผู้ป่วยต่อไป นอกจากนี้ทีมงานมองเห็นว่า หากนำเครื่องดูดน้ำลายมาใช้เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการแปรงฟันได้แล้ว ก็ควรใช้เครื่องเดียวกันนี้ ช่วยดูดเสมหะได้ด้วย ในกรณีผู้ป่วยมีเสมหะเหนียวข้น จึง เพิ่มขนาดมอเตอร์ของปั๊มให้แรงมากขึ้น เพื่อดูดเสหะให้แก่ผู้ป่วย โดยมอเตอร์ยังมีความแรงในการดูด ที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยตามหลักให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วย
การทำความสะอาดเครื่องดูดน้ำลาย และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
โดยปกติ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะใส่หน้ากากอนามัยและ ถุงมือยางอยู่แล้ว ในขณะให้การพยาบาล
เตรียมน้ำยา0.1% โซเดียมไฮโปคลอไรต์ เพื่อใส่ขวดรองรับน้ำลาย และเตรียมไว้สำหรับการดูดเพื่อทำความสะอาดเครื่อง
2.เตรียมน้ำสะอาด ไว้ในกรณีมีเสมหะเหนียวข้นมากติดที่สายดูด หรือมีการอุดตัน หรือทำงานช้าลง ในระหว่างการใช้งาน
หลังจากใช้งาน ให้ทิ้งท่อดูดน้ำลาย นำน้ำและน้ำลายที่อยู่ในขวดรองรับ ซึ่งมี 0.1% โซเดียมไฮโปคลอไรต์ผสมอยู่ ไปเททิ้งในชักโครก จากนั้น ใช้เครื่องดูดน้ำยา 0.1 โซเดียมไฮโปคลอไรต์ ให้ผ่านระบบของเครื่องเป็นเวลานาน 1 นาที (ต้องเตรียมไว้ก่อน) ประมาณ 1.5 ลิตร
นำขวดรองรับ และฝาปิด และท่อสายดูดไปแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนประกอบของ Dimethy benzyl ammonium chloride เป็นเวลา 10 นาที ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อวัณโรคได้ จากนั้นล้างทำความสะอาด ปล่อยให้แห้ง เพื่อเตรียมพร้อมไว้ใช้งาน ในวันต่อไป
เช็ด ทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่องด้วยผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือ ใช้กระดาษเช็ดที่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ
อุปกรณ์ทุกชิ้น หากตรวจพบว่ามีการชำรุดฉีกขาด หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วให้ นำใส่ถุง มัดปากถุง และทิ้งเป็นขยะทั่วไปได้ได้เลย
ประโยชน์ของเครื่องดูดน้ำลายขนาดพกพาสำหรับผู้ป่วยติดเตียง
เหมาะสำหรับใช้กับผู้ป่วยในการดูดเสมหะ หนอง เลือด น้ำ และน้ำลาย เพื่อใช้งานส่วนบุคคล (Personal Use) และใช้สำหรับการดูแลตนเองที่บ้าน (Home Use) หรือในสถานพยาบาล และเหมาะสำหรับใช้ปฐมพยาบาล และการใช้งานนอกสถานที่ เพราะตัวเครื่องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาและเคลื่อนย้ายเพื่อใช้งานได้สะดวก และเหมาะสำหรับใช้เป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยดูดน้ำและน้ำลายภายในช่องปากในขณะแปรงฟัน หรือช่วยทำความสะอาดช่องปาก สำหรับผู้ป่วยดังต่อไปนี้
1.ผู้ป่วยติดเตียง : สำหรับผู้ป่วยติดเตียงบางรายที่พอขยับร่างกายบางส่วนได้ และต้องการแปรงฟันด้วยตนเอง เนื่องจากต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นให้น้อยที่สุด
: ผู้ป่วยติดเตียง กรณีมีความจำเป็นต้องถอนฟันและล้างทำความสะอาดแผลในช่องปาก ทันตแพทย์สามารถนำเครื่องมือถอนฟันและเครื่องดูดน้ำลายขนาดพกพา เดินทางไปรักษาให้แก่ผู้ป่วยที่บ้านได้ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไป โรงพยาบาล เมื่อทันตแพทย์วินิจฉัยและพิจารณาแล้วว่าไม่มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน
: สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย ใช้เป็นอุปกรณ์เสริมช่วยแปรงฟันให้แก่ผู้ป่วยติดเตียง เพื่อช่วยลดความยุ่งยากในการเตรียมอุปกรณ์ ลดการแพร่กระจายเชื้อ ป้องกันการสำลักในขณะช่วยแปรงฟัน และทำให้ผู้ดูแลผู้ป่วยเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่ผู้ป่วย
2.ผู้ป่วยอัลไซเมอร์บางรายที่ลืมการกลืน หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อในการกลืนหรือบ้วนน้ำลายได้ ผู้ป่วยจะมีน้ำลายไหลเอ่อ ตลอดเวลา
3. ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยผ่าตัดขากรรไกร ผู้ป่วยมะเร็ง หรือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไม่สามารถลุกจากเตียงไปทำกิจวัตรประจำวันได้ ในระยะชั่วคราว เช่น ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ต้องนอนติดเตียง เป็นระยะเวลา1-3 เดือน เพื่อรอให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองให้กลับมาหายเป็นปกติ ผู้ป่วยผ่าตัดขากรรไกรและใบหน้าที่จำเป็นต้องยึดฟันและขากรรไกรไว้ด้วยกันที่ไม่สามารถอ้าปากได้
4.สำหรับช่วยแปรงฟันให้เด็กพิการทางสมอง
5.สำหรับผู้ปกครองเด็กเล็ก ช่วยแปรงฟันและสร้างความคุ้นเคยให้แก่เด็กต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก