เครือข่ายหุ่นยนต์อัจฉริยะเพื่อการสำรวจ วิเคราะหฺ์ และประเมินสภาพแวดล้อมทางชีวภาพในคูคลองและแหล่งน้ำจืด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วศิน แสงนิยม, จิรวัฒน์ กุลโชติ, ภูมิรพี ถาวรสุข

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สิริพร ปิยะพันธ์, นัทชาริน อาษาธง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (Harmful Algal Bloom : HAB) หรือปรากฏการณ์ที่เห็นแม่น้ำมีการเปลี่ยนสี เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของสิ่งมีชีวิตจำพวกแพลงก์ตอนพืชอย่างรวดเร็ว (Algal bloom) ในเวลาอันสั้น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นประจำในทุกๆปี ทั้งในแหล่งน้ำจืดและในมหาสมุทรต่างๆ การเจริญเติบโตและการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนพืช มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น มีธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในแหล่งที่อยู่เป็นจำนวนมาก และการมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อเจริญเติบโตได้ดี อาทิ อุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจนในน้ำ ความเข้มของแสงที่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งหากเกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นแล้วนั้น ย่อมส่งผลกระทบอย่างเป็นวงกว้าง ทั้งกับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการสร้างมลพิษทางน้ำ ทำให้สัตว์น้ำตาย ชาวประมงได้รับผลผลิตน้อยลง หรือผลผลิตที่ได้รับเกิดการปนเปื้อนสารพิษที่แพลงก์ตอนพืชสร้างขึ้น น้ำส่งกลิ่นเหม็น ไม่สามารถนำไปใช้ในการอุปโภคบริโภค หรือทำปศุสัตว์ได้ ดังนั้นจากเหตุการณ์ข้างต้นทางคณะผู้วิจัยจึงได้เล็งเห็นว่า หากเราสามารถนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ มาพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถตรวจจับหาแพลงก์ตอนพืช ตรวจวัดคุณสมบัติของสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณออกซิเจนในน้ำ ความเข้มแสง ความเป็นกรด - ด่าง อุณหภูมิของน้ำ หรือปริมาณธาตุอาหาร จะช่วยให้เราสามารถคาดการณ์โอกาสที่จะเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬขึ้นได้ ช่วยให้เราสามารถวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยอุปกรณ์ที่ทางผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นนั้น เมื่อนำไปทดสอบวัดค่า TDS ค่า pH และค่าสี ในตัวอย่างน้ำและวัสดุชนิดต่างๆ ผลปรากฏว่า ในการวัดค่า TDS ค่า pH และค่าสี อุปกรณ์มีความถูกต้องและแม่นยำในการวัดสูงสอดคล้องตามทฤษฎี เมื่อนำอุปกรณ์ไปลอย พบว่า อุปกรณ์สามารถลอยในทำได้ดี ไม่มีการรั่วซึมของน้ำเข้าไปในตัวอุปกรณ์ ดังนั้นจึงคาดว่าอุปกรณ์ที่ทางคณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นนั้น สามารถนำมาใช้ในการคาดการณ์การเกิดปรากฏการณ์สาหร่ายระพรั่งในระยะที่ 1 และ 2 ได้จริง