การศึกษาและสังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพื่อวิเคราะห์หาทิศทางการตกและอัตราการตกของดาวตกในแต่ละช่วงเวลา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิธิศ วงค์โค้ง, กวิน เมฆอากาศ, อมรวงศ์ วงศ์ชัย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จีระพงศ์ ฝาเรือนดี, อดิศักดิ์ กำแพงแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เมื่อมองขึ้นไปบนฟ้าในคืนที่มืดสนิท อาจจะพบกับภาพหรือปรากฏการณ์ที่น่าทึ่งที่เรียกว่า "ฝนดาวตก" ปรากฏการณ์นี้เกิดจากเส้นทางของกลุ่มก้อนของสะเก็ดดาวที่เข้าสู่บรรยากาศของโลกและทำให้เกิดแสงสว่างเนื่องจากเกิดการเสียดสีของสะเก็ดดาวกับชั้นบรรยากาศ ฝนดาวตกเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจและน่าทึ่งที่ผู้คนมักต้องการสังเกตและทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น จึงมีความสนใจที่อยากจะทราบถึงช่วงเวลาการตกจากการสังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตก จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนดาวตก จากการถ่ายภาพ และ วีดีโอปรากฏการณ์ฝนดาวตกจึงมีความสนใจที่อยากจะทราบถึงช่วงเวลาการตกจากการสังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตก จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนดาวตก จากการถ่ายภาพ และ วีดีโอปรากฏการณ์ฝนดาวตก คณะผู้ทดลองจึงมีความสนใจที่อยากจะทราบถึงช่วงเวลาการตกจากการสังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตก จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนดาวตก จากการถ่ายภาพ และ วีดีโอปรากฏการณ์ฝนดาวตกที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือน ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2566 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์หาช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์ของดาวตกเยอะที่สุด เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรมการสังเกตปรากฏการณ์ และสาเหตุที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดการตกของดาวตกที่มีอัตราการตกมากที่สุด ฝนดาวตกไม่เพียงเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ แต่ยังมีความสำคัญในด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษาและการสังเกตฝนดาวตกจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับต้นกำเนิดและการเคลื่อนที่ของสะเก็ดดาวตก นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับฝนดาวตกที่มีผลต่อการเข้าใจเรื่องแหล่งกำเนิดของระบบสุริยะและอื่น ๆ อีกมากมาย