ผ้าปิดแผลไหมละลายสารสกัดจากไคติน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปรีญาเรศ บุญศิริ, ธนพัฒน์ ชุมภูศรี, ขัตติยา รักษาศิลป์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อธิคุณ จันทโยธี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสามโคก องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากในปัจจุบัน บทบาทของผ้าปิดแผลในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาแผล ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

ไคโตซานเป็นสารที่สกัดได้จากแหล่งธรรมชาติ มีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมให้มีการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้การรักษาแผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว

จึงทำให้มีการพัฒนาสมบัติของผ้าปิดแผลอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นความสามารถของผ้าปิดแผล เหมาะสมต่อการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อในแผล และเพิ่มความสามารถในการรับและถ่ายเทของเสียที่ขับจากแผล ทำให้ลดจำนวนครั้งที่ต้องเปลี่ยนผ้าปิดแผลและปริมาณผ้าปิดแผลที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาแผล เนื่องจากใช้เวลาในการรักษาน้อยลง

ผู้จัดทำ จึงได้คิดค้นผ้าพันแผลที่มีไคโตซานเป็นส่วนประกอบ โดยออกแบบ ทำจากวัสดุประกบกันเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วยแผ่นไคโตซาน, แผ่นพอลิเมอร์ที่ดูดซับ และแผ่นป้องกันน้ำและเชื้อโรคจากภายนอก โดยในชั้นแรกที่มีไคโตซานเป็นองค์ประกอบหลักจะมีการลองขึ้นรูปในแบบต่างๆ ส่วนวัสดุที่เป็นองค์ประกอบในอีก 2 ชั้นจะถูกคัดเลือก ตามสมบัติและหน้าที่ที่ต้องการ