การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากเส้นใยของเห็ดนางฟ้าและเห็ดเยื่อไผ่

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จิรัชญา ศรีใหม่, พิชชาพร เพชรพรหม, ชณาภัช ชวศิริกุลฑล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อรวรรณ ปิยะบุญ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันมนุษย์ทั่วโลกนิยมบริโภคเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเนื้อสัตว์เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมัน แต่ในกระบวนการผลิตนั้นได้ส่งผลให้เกิดแก๊สและมลพิษต่าง ๆ โดยเกิดก๊าซเรือนกระจกเกินกว่า 15% จากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะโลกร้อน ทำให้ในปัจจุบันผู้คนจึงหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับอาหารทางเลือกมากขึ้น เพราะในกระบวนการผลิตเนื้อทดแทนจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่ากระบวนการผลิตอาหารทั่วไปถึง 90% คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการนำเส้นใยจากเห็ดนางฟ้าและเห็ดเยื่อไผ่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นโปรตีนทางเลือกที่จะปล่อยมลพิษน้อยกว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ โดยมีวิธีคือนำสต็อกเห็ดทั้งสองชนิดมาเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA หลังจากนั้นเพิ่มปริมาณโดยเลี้ยงในอาหาร PDB, น้ำ และน้ำต้มปลายข้าวกล้องเพื่อเปรียบเทียบปริมาณไมซีเลียมในแต่ละชุดการทดลอง จากนั้นนำไมซีเลียมที่ได้ไปอบและใช้คาราจีแนนเป็นตัวเชื่อมประสานเพื่อทำเป็นเนื้อทดแทน และจะทำการทดสอบเนื้อทดแทนโดยการทดสอบสีด้วย Colorimeter , ทดสอบปริมาณโปรตีนด้วย Lowry method และทดสอบลักษณะเนื้อสัมผัสด้วยวิธี Stable Microsystem Texture Analyzer (Model TA.XT plus)