การเปรียบเทียบคุณสมบัติการกำบังรังสีจากเส้นใยธรรมชาติและน้ำยางพรีวัลคาไนซ์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิรัฐิกร รักษานวล, ปพิชญา ยอดแก้ว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฏฐพัชร์ เพ็ชรศรีกุล, ชุติกาญจน์ สางห้วยไพร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันมีการนํารังสีแกมมาใช้ประโยชน์ในงานวิจัยและและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในทางการแพทย์ใช้รังสีแกมมาทำลายเซลล์มะเร็ง ใช้วินิจฉัยโรคในร่างกายของมนุษย์ หรือ ศึกษาการทำงานของต่อมไทรอยด์ รังสีแกมมาใช้ในการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในสิ่งมีชีวิต ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอและรังสีแกมมาใช้ในการถนอมอาหาร แต่อย่างไรก็ตามรังสีแกมมาอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียนและการเพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งผิวหนัง เป็นต้น สำหรับในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับการใช้รังสีจึงต้องมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันรังสีอย่างเหมาะสมซึ่งนิยมใช้ตะกั่วเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตอาจจะปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายแก่สิ่งแวดล้อมและนําไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์แผ่นป้องกันรังสีที่มีส่วนผสมของยางพรีวัลคาไนซ์ แบเรียมซัลเฟตและบิสมัทปริมาณสูงทดแทนการใช้ตะกั่วเป็นส่วนผสมและเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดทอนรังสี ดังนั้นการผลิตแผ่นกำบังรังสีจากเส้นใยธรรมชาติจึงมีประโยชน์อย่างมาก โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณสมบัติของเส้นใยพืช ได้แก่ ชานอ้อยและซังข้าวโพดที่เหมาะสมในการนำมาพัฒนาเป็นแผนกำบังรังสี 2) เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของแผ่นกำบังรังสีจากเส้นใยธรรมชาติ จากการทดสอบประสิทธิภาพแผ่นกำบังรังสี พบว่าแผ่นกำบังรังสีที่ทำจากชานอ้อยมีคุณสมบัติการกำบังรังสีได้ดีกว่าแผ่นกำบังรังสีที่ทำจากซังข้าวโพด ประโยชน์จากการทำโครงงานนี้คือเพื่อใช้วัสดุจากธรรมชาติมาสร้างเป็นแผ่นกำบังรังสีที่สามารถย่อยสลายได้และไม่สร้างมลพิษให้กับโลก