การใช้แสงสีและระยะเวลาของแสงที่ส่งผลต่ออัตราการฟักไข่ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พีรพัฒน์ วงศ์เจริญวิชญ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชัยยศ นุ่มกลิ่น
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การอนุบาลปลาแรกเกิดเป็นช่วงที่สำคัญในการเจริญเติบโต หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกปลา โดยทั่วไปการอนุบาลปลาแรกนิยมใช้ไรน้ำนางฟ้าในการเลี้ยงโดยมีปริมาณโปรตีนสูง จึงเหมาะเป็นอาหารธรรมชาติที่ดีสำหรับการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยเฉพาะสัตว์น้ำดังนั้นการนำไรน้ำมาเป็นส่วนหนึ่งของอาหารเลี้ยงปลาแรกเกิดจึงเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไรน้ำนางฟ้าสิรินธรมีการฟักไข่โดย การฟักควรทำในช่วงบ่ายเพื่อว่าจะสามารถแยกไรน้ำวัยอ่อนและเริ่มให้อาหารในช่วงสายของวันรุ่งขึ้น การให้อาหารช้า (นานเกินกว่า 10-12 ชั่วโมงหลังการฟัก) จะทำให้ไรน้ำวัยอ่อนขาดสารอาหารซึ่งมีผลให้ไรน้ำอ่อนแอ หรือตายเป็นจำนวนมากในระยะแรกๆ การฟักไข่ในภาชนะขนาดเล็กและน้ำตื้นและ ควรวางไว้บริเวณที่มีแสงรำไรหรือมีที่พลางแสงซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการฟักและการอยู่อาศัยของไรน้ำวัยอ่อน จึงเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว และไม่ยุ่งยาก จึงสามารถเลี้ยงจนเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงอุณหภูมิร่วมกับช่วงแสงสภาพแวดล้อม สำหรับการฟักไข่ การเจริญเติบโต แสงสีที่มีผลต่อการฟักไข่ของอาร์ทีเมียการใช้พารามิเตอร์แสงต่อไปนี้ สี(แสงสีแดง น้ำเงิน และแสงสีขาว)ที่มีความเข้มต่างกันในช่วง ซึ่งสอดคล้องกับความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างกันในช่วง 400-700 นาโนเมตร ของการฟักไข่ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทางผู้จัดทำจึงมีแนวความคิดสำหรับการเร่งการฝักไข่ของไรน้ำโดยใช้แม่สีแสงทั้งสามสีเทียบกับแสงสีขาวกับระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มอัตราการรอดจากการฟักสำหรับนำไปเพาะเลี้ยงเป็นอาหารของลูกปลาต่อไป จึงเป็นที่มาของแนวความคิดของโครงงานเรื่องแสงสีและระยะเวลาของแสงต่ออัตราการฟักตัวของไข่ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร