เปรียบเทียบผลของแป้งข้าวเหนียวและแป้งข้าวโพดต่อสมบัติของไคโตซานไฮโดรเจลจากเปลือกกุ้งเพื่อพัฒนาเป็นวัสดุปลูกชีวภาพ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วันสิริ พลวงศา, ฐิติยา สันต์สวัสดิ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พัชราภรณ์ วิชาสาร, อนุทิน พยุงวงษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันผู้คนในประเทศไทยที่ประกอบอาชีพเกษตรกรนั้นมีมากถึง 8 ล้านรายและเป็นอาชีพที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านาน ในการเกษตรยุคดั้งเดิม การเกษตรจะต้องอาศัยการคาดเดาจากปัจจัยที่มีผลต่องอกและการเจริญเติบโตของพืช แต่ในปัจจุบันนั้นการเกษตรมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการเกษตรโดยสามารถกำหนดปัจจัยที่ส่งผลต่อการงอกและการเจริญเติบโตของพืชได้
ไฮโดรเจลจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งไฮโดรเจลเป็นพอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างโมเลกุลเป็นแบบโครงร่างตาข่าย (Crosslinked structure) และเป็นชนิดชอบน้ํา (Hydrophilic polymers) ทําให้มีคุณสมบัติใน การดูดซับน้ําและอุ้มน้ําได้ดี สามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางเนื่องจากมีประโยชน์หลากหลายแขนง เช่น ด้านการแพทย์ ด้านอุตสาหกรรม และอีกด้านที่มีความสําคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือด้านการเกษตร โดยไฮโดรเจลจะช่วยอุ้มน้ำไว้และค่อยๆปล่อยความชื้นให้แก่พืช คงสภาพความชุ่มชื่นให้สม่ำเสมอจึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้เป็นวัสดุในการเพาะปลูกเสริมกับไคโตซานที่สังเคราะห์จากเปลือกกุ้งที่เหลือทิ้งเพื่อเพิ่มปัจจัยในการงอกของพืช ซึ่งไคโตซานมีสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเร่งรากของพืช ช่วยในการเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ด ช่วยสร้างความต้านทานโรค และช่วยเพิ่มผลผลิต แต่เนื่องจากในการขึ้นรูปของไฮโดรเจลส่วนใหญ่มีการใช้พอลิเมอร์สังเคราะห์เช่น พอลีไวนิลแอลกอฮอล์(PVA),พอลีไวนิลไพโรลิโดน(PVP) ซึ่งพอลิเมอร์เหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติและปล่อยไมโครพลาสติกออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาไฮโดรเจลจากพอลิเมอร์ธรรมชาติมาใช้ในการขึ้นรูปไฮโดรเจลเพราะมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้เองและไม่ปล่อยไมโครพลาสติกออกสู่ธรรมชาติ
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาวัสดุปลูกให้อยู่ในรูปไฮโดรเจลจากแป้ง
ข้าวเหนียวและแป้งข้าวโพดซึ่งเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติและเพิ่มปัจจัยในการงอกและการเจริญเติบโตของพืชโดยการเติมไคโตซานจากเปลือกกุ้งที่เหลือทิ้ง เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้และส่งเสริมการใช้สารชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการประหยัดเวลาในการเพาะปลูกพืชหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้อยเช่นผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดหรืออพาทเมนต์ที่ต้องการปลูกพืชโดย ใช้กระถาง เป็นต้น