การศึกษาประสิทธิภาพของด้วงเต่าแต่ละชนิดในการจำกัดจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพื่อประยุกต์ใช้แทนสารเคมีในนาข้าวและเปรียบเทียบตารางชีวิตของด้วงเต่าแต่ละชนิดเมื่อกินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นอาหาร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วีรภัทร วณิชสินวิโรจน์, บัณฑิตา สุริย์ศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ช่อรัก วงศ์สวรรค์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของด้วงเต่าแต่ละชนิดในการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพื่อประยุกต์ใช้แทนสารเคมีในนาข้าวและเปรียบเทียบตารางชีวิตของด้วงเต่าแต่ละชนิดเมื่อกินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นอาหาร โดยจะทดลองเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความสามารถในการกำจัดเพลี้ยกระโดดของด้วงเต่าสายพันธุ์ที่แตกต่างกันและเปรียบเทียบตารางชีวิตของด้วงเต่าแต่ละชนิดเมื่อกินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นอาหาร ในการศึกษาการเปรียบเทียบความสามารถในการกำจัดเพลี้ยกระโดดของด้วงเต่าสายพันธุ์ที่แตกต่างกันจะทดลองโดยนำเมล็ดของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ไปเพาะในกระถางเพาะกล้า เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 30 วัน จึงย้ายมาปลูกในกระถางเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 นิ้ว กระถางละ 1 เมล็ด 13 กระถาง เมื่อปลูกต้นข้าวครบ 1 เดือนจึงนำเพลี้ยกระโดดและด้วงเต่าใส่ลงในกระถางที่วางในมุ้งเลี้ยงแมลงขนาด 45x45x150 เซนติเมตร นำด้วงเต่าแต่ละสายพันธุ์แยกใส่คนละกระถางโดยใส่สายพันธุ์ละ 3 กระถาง กระถางละ 2 ตัว เป็นเพศผู้ 1 ตัวและเพศเมีย 1 ตัว มี 1 กระถางที่ใส่เพียงเพลี้ยไม่ใส่ด้วงเป็นกระถางมาตรฐาน ใส่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลลงในกระถางทุกวัน วันละ 50 ตัว บันทึกผลโดยการชั่งน้ำหนักกระถางทุกๆ 5 วัน จนด้วงเต่าวางไข่ครบ 3 รอบ นำน้ำหนักของกระถางที่บันทึกไว้มาหาค่าเฉลี่ยและนำมาเปรียบเทียบกัน ส่วนการเปรียบเทียบตารางชีวิตของด้วงเต่าแต่ละชนิดเมื่อกินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นอาหารจะทดลองโดย นำไข่ด้วงเต่าสีส้ม ซึ่งมีอายุเท่ากันจำนวน 40 ฟอง แยกเลี้ยงในกล่อง เลี้ยงแมลงขนาด 19 x 28 X 10 เชนติเมตร ทำการเพาะเลี้ยงด้วงเต่าสีส้ม ด้วยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยดำเนินการ 2 ชุด คือชุดที่ที่หนึ่งเพื่อศึกษา biological life table และชุดที่สองเพื่อศึกษาถึง partial ecological life table ในส่วนของ biological life table นั้นทำการตรวจนับจำนวนและเปลี่ยนอาหารทุกวัน ติตตามสังเกตการณ์เจริญเติบโตสู่ระยะต่างๆ จนเป็นตัวเต็มวัยตรวจนับจำนวนตัวเต็มวัยที่เกิดขึ้น จากนั้นตรวจนับจำนวนไข่ทุกวันจนหยุวางไข่และตัวเต็มวัยตายหมด นำข้อมูลที่ได้มาสร้างตารางชีวิตและคำนวณคำทางสถิติต่างๆ คือ การขยายพันธุ์สุทธิ ชั่วอายุขัยชองกลุ่ม คำสัมประสิทธิ์การเพิ่มทางพันธุกรรมของประชากร อัตราการเพิ่มที่แท้จริง ส่วนที่สองศึกษา partial ecological life table ดำเนินการในลักษณะเดียวกับการศึกษาทางชีววิทยา และติดตามการเปลี่ยนแปลงจำนวนของด้วงเต่าสีส้มในทุกระยะบันทึกจำนวนด้วงเต่าสีส้มที่รอดชีวิตในแต่ละวัย นำข้อมูลที่ได้มาสร้างตารางชีวิต และ คำนวณค่าทางสถิติต่างๆ ตามที่อธิบายไว้โดย Southwood (1978), Price (1997) และอินทวัฒน์บุรีคำ (2548) ดำเนินการศึกษาในทำนองเดียวกัน แต่ใช้ด้วงลายจุด และ ด้วงเต่าลายหยักในการทดสอบแทนด้วงเต่าส้ม