การพัฒนาไมโครกรีนจากพืชพรรณท้องถิ่นล้านนาสู่สากล

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชวกร สงจันทร์, ชัยรัศศ์ รัตนสายใย, กรกรัณย์ ต้นพิริยะพงษ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จันทร์จิรา ชัยอินทรีอาจ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการมีความสาคัญต่อการดารงชีวิตประจาวัน โดยเฉพาะในวัย เด็กซึ่งเป็นวัยที่กาลังเสริมสร้างพัฒนาการทั้งในด้านร่างกายและสมอง การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจึงเป็น เรื่องที่ต้องใส่ใจอย่างมาก ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและนาไปสู่การเกิดโรคขาดสารอาหาร ซึ่งยังคงเป็นปัญหาสาคัญทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย ซึ่งผู้ป่วยเด็กโรคขาดสารอาหารส่งผลในระยะยาวต่อ การเจริญเติบโต พัฒนาการทั้งทางร่างกายและสติปัญญา การขาดสารอาหารเฉียบพลันรุนแรง เพิ่มอัตราการ เกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น (ลัดดา เหมาะสุวรรณ, 2561)

ปัจจุบันไมโครกรีนได้รับความสนใจจากผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพมากขึ้นเพราะมีคุณค่าทางอาหาร ได้แก่ ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ซีลีเนียม และโมลิบดินัมสูงกว่าผักที่เติบโตเต็มที่ ทั้ง ยังมีปริมาณไนเตรต (NO3-) ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่ต่ากว่า ทาให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าการ รับประทานไมโครกรีนนั้นมีความปลอดภัย นอกจากนี้ไมโครกรีนยังเป็นแหล่งของสารทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ทาง ชีววิทยาเช่น แคโรทีนอยด์ แอนโทไซยานิน (อัญชนา เจนวิถีสุข, 2544) สารประกอบฟีนอลิก และกลูโคไซโน เลต ซึ่งสารทุติยภูมิดังกล่าวมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบและการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือโรคมะเร็งบางชนิด (พรชัย หาระโคตร, 2561) สาหรับผู้บริโภคที่ไม่ ชอบรับประทานผักทั้งผู้ใหญ่และเด็ก การรับประทานไมโครกรีนในอาหารเพียงเล็กน้อยจะทาให้ได้รับ สารอาหารมากกว่าการกินผักทั่วไปในปริมาณมาก นอกจากนี้ไมโครกรีนยังเหมาะสมกับผู้ที่อยู่อาศัยในสังคม เมืองที่มีข้อจากัดเรื่องสถานที่ และเวลาในการดูแลพืชสวนครัว เนื่องจากระบบการปลูกไมโครกรีนเหมาะกับ พื้นที่ขนาดเล็ก สามารถปลูกได้ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ

กลุ่มผู้ทาโครงงานจึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของการใช้ปริมาณธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) ร่วมกับธาตุอาหารเสริม ได้แก่ สังกะสีและเหล็ก ที่มีผลต่อการเพิ่มคุณค่า ทางโภชนาการของไมโครกรีนผักพื้นบ้านในภาคเหนือ เช่น ผักขี้หูด ผักกระถิน ผักปลัง ผักฮองแฮง และผลของ สารกระตุ้นทางชีวภาพได้แก่ น้าตาลกลูโคส และน้าตาลซูโครส ซึ่งเป็นสารตัวกลางในการส่งสัญญาณใน กระบวนการเจริญเติบโตและเมทาบอลิซึมในพืช เช่น การป้องกันภาวะออกซิเดชัน การงอก การออกดอก การ ตอบสนองต่อสภาวะเครียด และการวายของพืช ต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ แคโรทีนอยด์ และ ความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระในไมโครกรีนเพื่อให้ไมโครกรีนผักพื้นบ้านภาคเหนือมีการเจริญเติบโตดี มีคุณค่าทางอาหารและปริมาณสารพฤกษเคมีสูง ได้ผลผลิตมูลค่าสูง เป็นการอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้าน ส่งเสริม การบริโภคผักและเพิ่มมูลค่าของผักพื้นบ้านภาคเหนือ ได้แก่ ผักขี้หูด ผักปลัง ผักกระถิน และผักฮองแฮง